Page 126 -
P. 126

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               Table 13 Economic return analysis of nitrogen fertilizer application for cassava in rainy season 2017/2018
               Fertilizer applied   Grain yield   Increase Yieid   Gross returns   Expenditure on fertilizer   VCR
               (kg N-P2O5-K2O/rai)   (kg/rai)         (%)          (Bath/rai)           (Bath/rai)
               Kasetsart 50
               0-8-8                  3,095
               4-8-8                  3,829          19.2            1,395                670             2.1
               8-8-8                  3,657          15.8            1,068                814             1.3
               12-8-8                 3,848          19.6            1,431                958             1.5
               16-8-8                 3,515          11.9             798                1,086            0.7
               Rayong11
               0-8-8                  2,995
               4-8-8                  3,619          17.2            1,186                670             1.8
               8-8-8                  3,617          17.2            1,182                814             1.5
               12-8-8                 3,343          10.4             661                 958             0.7
               16-8-8                 3,924          23.7            1,799               1,086            1.7
               Remark : Value Cost Ratio (VCR) = Gross return/Cost of fertilizer
               Fertilizer price: 46-0-0 (16 baht/kg K) 18-46-0 (23 baht/kg N-P2O5) and 0-0-60 (19 baht/kg K2O)

               2. การตอบสนองต่อปุ๋ยโพแทชของมันสำปะหลัง
                       2.1 การเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง
                              ความสูงของมันสำปะหลังที่อายุ 8 เดือนและอายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน พบว่า มันสำปะหลังทั้ง 2 พันธุ์ มี
               ความสูงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีการเจริญเติบโตด้านความสูงมากกว่าพันธุ์ระยอง
               11 และเมื่อพิจารณาอัตราปุ๋ยโพแทชที่ระดับต่างๆ ไม่ทำให้ความสูงต้นแตกต่างกัน และไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และ
               อัตราปุ๋ยโพแทชระดับต่างๆ ที่มีต่อความสูง (Table 14)
                       2.2 ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของมันสำปะหลัง
                              2.2.1 ผลผลิตหัวสด
                              ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 12 เดือน พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์ระยอง
               11 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยโพแทชทำให้มันสำปะหลังให้ผลผลิตแตกต่างกันอย่างมี

               นัยสำคัญทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยโพแทช อัตรา 12 กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ มันสำปะหลังให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 4,304 กิโลกรัมต่อไร่
               ใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยโพแทชอัตรา 4 8 และ 16 กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ ซึ่งให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 4,024-4,143 กิโลกรัมต่อไร่
               แต่แตกต่างกับกรรมวิธีไม่ใส่ปุ๋ยโพแทชที่ให้ผลผลิตหัวสดต่ำสุด 3,586 กิโลกรัมต่อไร่ (Table 15)
                              นอกจากนี้ยังพบว่า การใส่ปุ๋ยโพแทชที่อัตรา 12 กิโลกรัมK 2O ต่อไร่ส่งผลให้มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์
               50 ให้ผลผลิตหัวสดสูงสุดเฉลี่ย 4,512 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์ระยอง 11 ให้ผลผลิตหัวสดสูงสุดเฉลี่ย 4,148 กิโลกรัม
               ต่อไร่ เมื่อมีการใส่ปุ๋ยโพแทชอัตรา 4 กิโลกรัม K 2O ต่อไร่ (Table 15)
                              2.2.2 เปอร์เซ็นต์แป้งและผลผลิตแป้ง
                              การใส่ปุ๋ยโพแทชที่อัตราต่างๆ ไม่ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์
               ระยอง 11 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ไม่ใส่ปุ๋ยโพแทช โดยพันธุ์ระยอง 11 ให้เปอร์เซ็นต์แป้ง (26.9
               เปอร์เซ็นต์) สูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 (23.6 เปอฺร์เซ็นต์) ดัง Table 16 และพันธุ์ระยอง 11 มีแนวโน้มให้ผลผลิตแป้งสูง
               กว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 คิดเป็นปริมาณผลผลิตแป้ง 1,075 และ 937 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ (Table 17)





                                                          118
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131