Page 89 -
P. 89

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               กรรมวิธีที่ 5 และกรรมวิธีที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้นในกรรมวิธีที่ 3 มีค่ามากที่สุดและมี
               ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 7 ค่าการตรึงไนโตรเจนพบว่ากรรมวิธีที่ 7 มีค่าการตรึงไนโตรเจน
               มากที่สุด รองลงมาได้แก่ กรรมวิธีที่ 4 และกรรมวิธีที่ 3 นอกจากนี้ยังพบว่ากรรมวิธีที่ 1, 2 และ 6 มีค่าการตรึงไนโตรเจน

               ค่อนข้างต่ำและมีความแตกต่างจากกรรมวิธีที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลผลิตถั่วเหลืองตาแดงที่ปลูกในกระถาง
               ทดลอง พบว่าจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดทั้งหมด น้ำหนักเมล็ด และ น้ำหนัก 100 เมล็ดในทุกๆ กรรมวิธีการไม่มีความ
               แตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อนำเชื้อผสม 3 สายพันธุ์มาใช้ร่วมกัน พบว่าให้ผลผลิตที่ดีกว่าปุ๋ยชีวภาพสำหรับถั่วเหลืองที่
               ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร
               คำสำคัญ : ลุ่มน้ำปาย, ไรโซเบียม, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                                                           คำนำ
                       ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด แบคทีเรียจัดเป็นจุลินทรีย์กลุ่มใหญ่พบมากที่สุดเมื่อ
               เทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น มีหน้าที่ย่อยซากพืช ซากสัตว์ ผลิตฮิวมัส เปลี่ยนแปลงแร่ธาตุในดินให้เป็นประโยชน์ แบคทีเรีย
               ในดินบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อพืชได้ เช่น
               แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนที่อยู่ร่วมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis N2-fixing bacteria) ได้แก่ เชื้อไรโซเบียม
               (Rhizobium sp.) กับพืชตระกูลถั่ว (หนึ่ง, 2554) ไรโซเบียมเป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพวก prokaryote ที่สามารถสร้าง
               เอ็นไซม์ไนโตรจิเนส (nitrogenase enzyme) ทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพ (Biological Nitrogen Fixation) โดย
               กระบวนการทางเอ็นไซม์นี้สามารถรวมแก๊สไนโตรเจนและแก๊สไฮโดรเจนให้เป็นแอมโมเนีย ทำให้เกิดการดึงแก๊สไนโตรเจน
               จากอากาศมาเป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ต่างๆ กระบวนการตรึงไนโตรเจนของแบคทีเรีย มีบทบาทสำคัญที่ควรให้ความ
               สนใจอย่างยิ่ง แต่เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โลกมีการพัฒนาขึ้น ความต้องการบริโภคอาหารมากขึ้น ส่งผลให้

               พื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลายเพื่อมาทำการผลิตพืชและอาหารอย่างต่อเนื่อง พื้นที่อาศัยของแบคทีเรียเหล่านี้จึงถูกกระทบด้วย
               ความเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศ มีผลกระทบต่อประชากรแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะกระทบถึง
               ประชากรไรโซเบียมในดินที่มีความสำคัญต่อปริมาณการเกิดปมของต้นถั่วหลายชนิด รวมทั้งถั่วที่เป็นพืชเศรษฐกิจต่างๆ
               และไม้ยืนต้น แต่เนื่องจากไรโซเบียมเป็นจุลินทรีย์ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับพืชตระกูลถั่วเหล่านั้น กล่าวคือไรโซเบียมจะ
               ถูกจำแนกตามลักษณะความสามารถในการเข้าสร้างปมได้กับชนิดของพืชตระกูลถั่วที่อาศัยอยู่ เช่น Bradyrhizobium
               japonicum จะสร้างปมรากและตรึงไนโตรเจนเฉพาะกับถั่วเหลืองเท่านั้น ซึ่งในสภาพแวดล้อมต่างกันก็มีอิทธิพลต่อการ
               เป็นอยู่ของไรโซเบียมต่างกัน (Boonkerd and Weaver, 1982; Weaver et al., 1987) นอกจากนี้ Boonkerd et al.
               (1993) ยังพบอีกว่าอิทธิพลของระบบการปลูกพืชมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชากร และความสามารถในการตรึงไนโตรเจนของ
               ไรโซเบียมอีกด้วย ในการผลิตพืชตระกูลถั่ว การปลูกเชื้อไรโซเบียมร่วมกับถั่วสามารถเพิ่มผลผลิตได้การทดลองของ
               Duzan et al. (2004) พบว่าเมื่อมีการปลูกเชื้อ B. japonicum ให้กับถั่วเหลืองที่ปริมาณเซลล์ตั้งแต่ 10  ถึง 10 เซลล์ต่อ
                                                                                                     6
                                                                                               3
               เมล็ด ทำให้มีจำนวนปม น้ำหนักปม และน้ำหนักเมล็ดเพิ่มขึ้น ตามปริมาณเซลล์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการปลูกเชื้อ
               B. japonicum สามารถเพิ่มจำนวนฝัก จำนวนเมล็ด น้ำหนักต่อ 100 เมล็ด ปริมาณโปรตีนในเมล็ดถั่วเหลือง (Zhang
               et al., 2002) ในการปลูกพืชตระกูลถั่ว ไรโซเบียมจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น  ซึ่งไรโซเบียม
               สามารถผลิตปุ๋ยไนโตรเจนให้กับพืชตระกูลถั่วได้อย่างเพียงพอ ความต้องการไนโตรเจนของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่าง

               กัน เช่น การผลิตถั่วเหลือง 3 ตันต้องใช้ไนโตรเจน 300 กิโลกรัมในพื้นที่ 6.25 ไร่ ในขณะที่ผลผลิตข้าว 5 ตันต่อไร่ต้องใส่
               ปุ๋ยไนโตรเจน 100 กิโลกรัม/ไร่
                     นอกจากเชื้อไรโซเบียมแล้วในดินยังพบว่ามีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ ราก โดยมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริม
               การเจริญเติบโตของพืช ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่ม Azospirillum, Azotobacter, Bacillus, Enterobacter,
               Gordonia, Klebsiella, Paenibacillus, Pseudomonas, Serratia เป็นต้น โดยแบคทีเรียเหล่านี้สามารถส่งเสริมการ
               เจริญเติบโตของพืชได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม แบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถผลิตฮอร์โมนพืช ดูดซับธาตุอาหารที่จำเป็นจากดิน
               ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค (Glick, 1995) มีรายงานการใช้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน 2-3 กลุ่ม พบว่าให้ผลดีกว่าการใช้
               แบคที่เรียเพียงกลุ่มเดียว Dashti et al. (1998) พบว่าการปลูกเชื้อร่วมระหว่าง B. japonicum และ Azospirillum

                                                           81
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94