Page 85 -
P. 85
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาความหลากหลายของราดินในพื้นที่ป่าและพื้นที่ทำการเกษตรบริเวณลุ่มน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พบราทั้งหมด 390 สายพันธุ์ จำแนกตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาได้ทั้งหมด 18 สกุล 18 ชนิด แบ่งเป็นราในกลุ่ม
Zygomycota 4 สกุล Ascomycota 13 สกุล Basidiomycota 1 สกุล ราที่พบมากในทุกพื้นที่ ได้แก่ ราที่ไม่สร้างสปอร์
สร้างเพียงเส้นใยรา (Sterile mycelium) รองลงมาได้แก่รา Aspergillus niger (32 สายพันธุ์) Talaromyces spp.
(30 สายพันธุ์) และ Neosartorya spp. (23) ตามลำดับ ราที่พบเฉพาะในพื้นที่ทำการเกษตรได้แก่ รา Fusarium
solani, Sclelotium rolfsii และTrichoderma harzianum ราที่พบเฉพาะในดินป่าได้แก่รา Myrothecium
verucaria ผลการทดสอบประสิทธิภาพของราดิน พบราดินจำนวน 10 สายพันธุ์สามารถย่อยสลายฟอสเฟตได้ ราดิน
จำนวน 53 สายพันธุ์มีความสามารถในการสร้างสาร siderophore และพบราดินจำนวน 91 สายพันธุ์มีความสามารถใน
การสร้าง Indole acetic acid (IAA) นอกจากนี้ยังพบว่ามีราดินหลายสายพันธุ์สามารถยับยั้งราสาเหตุโรครากเน่าของพืช
หลายชนิด อย่างรา R. silani พบราดินที่สามารถยับยั้งการเจริญได้จำนวน 15 สายพันธุ์ รา S. rolfsii พบราดินที่
สามารถยับยั้งการเจริญได้จำนวน 11 สายพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบว่ามีราดินจำนวน 15 สายพันธุ์ที่สามารถยับยั้งรา
F. oxysporum และ ราดิน 24 สายพันธุ์ สามารถยับยั้งการเจริญของรา C. gloeosporioides ได้ ซึ่งราดินส่วนใหญ่ที่
สามารถยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคพืชได้ในระดับดีเป็นราในสกุล Trichoderma spp.
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
จากการศึกษาพบราดินหลายชนิดที่มีแนวโน้มในการนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ เช่น นำไปใช้ควบคุม
ศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น โรค แมลง ราที่พบส่วนใหญ่มีรายงานว่าสามารถย่อยสลายซากพืชซากสัตว์โดยเฉพาะองค์ประกอบที่มี
โครงสร้างซับซ้อนและย่อยสลายยากเช่น เซลลูโลส แป้ง ลิกนิน ได้ดีสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายคือ คาร์บอนไดออกไซด์ กรด
อินทรีย์ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นการปลดปล่อยธาตุอาหารและองค์ประกอบทางเคมีกลับคืนสู่ดินทำให้ดินอุดมสมบูรณ์และพืช
นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ราบางชนิดยังสามารถนำมาใช้ย่อยสลายสารกำจัดวัชพืชที่ตกค้างในดินได้ มีราดิน
หลายสายพันธุ์จากผลการทดลองในครั้งนี้สามารถสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตอย่าง siderophore และ IAA ที่อาจ
นำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชได้
เอกสารอ้างอิง
ขนิษฐา สมตระกูล และวราภรณ์ ฉุยฉาย. 2554. บทบาทของแบคทีเรียกลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในการฟื้นฟู
สภาพแวดล้อมด้วยพืช. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 7(13):87-103.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2526. คู่มือปฏิบัติการปฐพีวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 119 น.
คนึงนิจ บุศราคำ. 2545. โรคของกล้วยไม้ดิน ราเอนโดไฟท์บนใบและราก และราดินบริเวณราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 245 หน้า
จิระเดช แจ่มสว่าง. 2552. ไตรโคเดอร์มา: เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมโรคพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน. 368 หน้า
นริศ ท้าวจันทร์. 2545. การควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคบางชนิดบนเมล็ดถั่วเหลืองโดยใชเชื้อราปฏิปักษ์. เชียงใหม่ :
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 54 หน้า
นิยม สุดเพราะ. 2542. ความหลากหลายของราดินและราโรคพืช ในดินปลูกพืชไร่ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 321 หน้า.
นภา โล่ห์ทอง. 2540. สิ่งละอันพันละน้อยจากจุลินทรีย์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 45 น.
77