Page 70 -
P. 70
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
positive control
Negative control Cellulase from Aspergillus
H O
2 niger
1-2 1-3 1-12 1-18 1-22 2-1
2-12 2-13 2-15 2-16 2-24 2-27
2-30 2-31 2-37 2-34 2-39 2-43
2-51 2-52 3-1 3-7 3-8 3-9
ภาพที่ 1 ประสิทธิภาพการย่อยสลายเซลลูโลสของราดิน 24 สายพันธุ์ ที่แยกได้จากพื้นที่ลุ่มน้ำปาย บนอาหาร Cellulose
congo red agar บ่มที่อุณหภูมิห้อง
2. การทดสอบประสิทธิภาพของราดินในการละลายฟอสเฟต
ราดินที่สามารถละลายฟอสเฟตได้โดยทั่วไปจะช่วยทำให้ฟอสเฟตที่อยู่ในดินอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้ จากการทดลองครั้งนี้พบราดินจำนวน 10 สายพันธุ์ได้แก่ รา Penicillium sp. สายพันธุ์ 2-44,
รา Talaromyces sp.สายพันธุ์ 3-29, รา sterile mycelium สายพันธุ์ 3-32 และ รา Aspergillus niger สายพันธุ์ 4-3
สามารถละลายฟอสเฟตได้มากที่สุดเท่ากับ 1.10 (ตารางที่ 3) ซึ่งพบเป็นราในสกุล Aspergillus และ รา Talaromyces
ซึ่งเป็นระยะสืบพันธุ์แบบใช้เพศของรา Penicillium โดยราทั้งสองชนิดนี้มีรายงานว่าสามารถย่อยสลายฟอสเฟตได้
(Nopparat et. al., 2007) จากการศึกษาของ Zhang et al. (2018) พบรา Talaromyces auratiacus และ
รา Aspergillus neoniger มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต และพบว่าราทั้งสองชนิดนี้สามารถอยู่รอดได้ใน
สภาพแวดล้อมที่เป็นกรดและเชื้อราทั้งสองชนิดมีความสามารถอย่างมากในการปลดปล่อย P ที่ละลายน้ำได้เชื้อราทั้งสอง
มีศักยภาพในการประยุกต์ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้
นอกจากนี้ยังพบราที่ไม่สร้างสปอร์ (sterile mycelium) สามารถละลายฟอสเฟตได้เช่นเดียวกัน ราดินที่สามารถ
ละลายฟอสเฟตได้อยู่ในระดับ 1-2 (ระดับกิจกรรมการละลายตะกอน CaHPO 4 ของราดินตามความกว้างของวงใส) โดยมี
ค่าน้อยกว่า 6 มิลลิเมตร โดยการประเมินระดับกิจกรรมการละลายตะกอน CaHPO 4 ของจุลินทรีย์ตามความกว้างของวง
ใส ที่ประเมินได้ (กรมวิชาการเกษตร, 2551) ดังนี้
62