Page 72 -
P. 72
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulating chemicals) ที่จัดอยู่ในกลุ่ม ออกซินมีอยู่หลาย
ชนิด สารออกซินชนิดแรกที่ค้นพบคือ indole-3-acetic acid (IAA) ซึ่งเป็นสารที่พืชสามารถสร้างได้เอง (ลิลลี่ และคณะ,
2549) การสกัดสาร IAA จากพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทำได้ยากเนื่องจาก IAA สลายตัวได้ง่ายและรวดเร็วมากจึงไม่
สะดวกต่อ การนำมาใช้ประโยชน์ (วันเพ็ญ, 2548) การใช้จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดอินโดลอะซีติก (IAA) ในการส่งเสริมการ
เติบโตของพืชมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ข้อดีของออกซินคือเพิ่มความทนทานและความสามารถในการฟื้นฟู
สภาพแวดล้อมของพืชโดยการกระตุ้นการเจริญที่ปลายรากทำให้มีพื้นที่ผิวรากเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้เพิ่มความสามารถในการ
ลำเลียงธาตุอาหารหรือดูดซึมสารมลพิษรวมทั้งการหลั่งสารจากรากพืชด้วย (ขนิษฐา และวราภรณ์, 2554) มีราหลายชนิด
ที่สามารถสร้าง IAA ได้เช่นกัน โดยเฉพาะราในสกุล Fusarium, Rhizopus, Aspergillus และ Trichoderma เป็นต้น
(Ma et al., 2011) รายงานวิจัยของ Chutima and Lumyong (2012) พบว่าราที่คัดแยกจากรากของกล้วยไม้สามารถ
สร้าง IAA ที่ส่งเสริมการเติบโตของรากและยอดของต้นถั่วได้นอกจากนี้ยังส่งเสริม การงอกของเมล็ดข้าวโพด และเพิ่ม
ความยาวของรากของข้าวโพดได้ การศึกษาครั้งนี้พบราดินจำนวน 91 สายพันธุ์มีความสามารถในการสร้าง Indole
acetic acid (IAA) โดยมีจำนวน 18 สายพันธุ์ที่สามารถสร้าง IAA ในระดับสูง (+++) และ 21 สายพันธุ์สามารถสร้าง IAA
ในระดับปานกลาง (++) (ตารางที่ 5)
64