Page 77 -
P. 77

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                   4.  วิธีการทดสอบความเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช
                   การคัดเลือกราดินที่สามารถยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคพืช 4 ชนิด พบว่ามีราดิน 15 สายพันธุ์สามารถ

               ยับยั้งการเจริญของรา Rhizoctonia solani  ได้ โดยมีค่าการยับยั้งตั้งแต่ 40-58 เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์ที่สามารถยับยั้ง
               R. solani  ได้มากที่สุดได้แก่รา Aspergillus niger สายพันธุ์ 2-30 และรา Trichiderma sp. สายพันธุ์ 4-34 (ตารางที่ 6
               ภาพที่ 4 ) พบว่ามีราดินในสกุล Trichoderma spp จำนวน 11 สายพันธุ์ที่สามารถยับยั้งการเจริญของรา Sclerotium
               rofsiii ได้ดี มีค่าการยับยั้ง 70-95 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 7 ภาพที่ 5 ) นอกจากนี้พบว่ามีราดิน 15 สายพันธุ์สามารถยับยั้ง
               การเจริญของรา Fusarium oxysporum ได้ตั้งแต่ 57.69-88.46 เปอร์เซ็นต์ และราดิน 24 สายพันธุ์สามารถยับยั้ง
               รา Colletotrichum goesporioidesได้ 40.23-89.66 เปอร์เซ็นต์ ราดินสายพันธุ์ที่สามารถยับยั้งรา R. solani  S.
               rolfsii  F. oxysporum และ C. gloeosporioides  ได้ในระดับดีมาก เมื่อนำมาตรวจดูลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่า
               เป็นราในสกุล Trichoderma spp. ซึ่งราชนิดนี้เป็นราที่มีความสำคัญมากทางด้านการเกษตรมีการนำมาใช้ควบคุมโรคพืช
               หลายชนิดเช่น โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากรา Pythium, Phytophthora, Sclerotium และ Rhizoctonia (จิระเดช,
               2552) (ตารางที่ 8, 9 ภาพที่ 6 , 7)

               ตารางที่ 6 เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเติบโตของรา Rhizoctonia solani ของราดินที่แยกจากพื้นที่ลุ่มน้ำปาย
               จ.แม่ฮ่องสอน

                                                    รัศมีโคโลนี
                              สายพันธุ์           Rhizoctonia        รัศมีโคโลนีของ   เปอร์เซ็นต์การยับยั้ง
                                                                      ราปฏิปักษ์
                                                   solani (ซม..)        (ซม.)
                       control                       3±0.00               -                -
                       Aspergillus niger (1-2)      1.8±0.00          2.2±0.00          40±0.00
                       Sterile mycelium(1-3)        1.8±0.00          2.2±0.00          40±0.00
                       Trichiderma sp.(2-14)        1.5±0.00          2.5±0.00          50±0.00
                       Trichiderma sp.(2-15)        1.3±0.1           2.7±0.00           57±19
                       Aspergillus niger(2-30)      1.9±0.2            2.1±0.1           58±5.8
                       Sterile mycelium(2-81)       1.8±0.0            2.2±0.2           40±0.0
                       Trichiderma sp.(3-49)        1.5±0.0            2.5±0.0           50±0.0
                       T. harzianum(4-28)           1.5±0.0            2.5±0.0           50±0.0
                       Trichiderma sp.(4-29)        1.5±0.3            2.5±0.0           50±9.6
                       Trichiderma sp.(4-34)        1.3±0.1            2.7±0.3           58±1.9
                       Trichiderma sp.(4-35)        1.5±0.1            2.5±0.1           51±1.9
                       T. harzianum (4-36)          1.4±0.1            2.6±0.1           53±3.3
                       T. harzianum (4-38)          1.3±0.1            2.7±0.1           57±3.3
                       Trichiderma sp.(4-39)        1.5±0.1            2.5±0.1           49±1.9
                       T. harzianum (4-40)          1.5±0.0           2.5±0.00           50±0.0









                                                           69
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82