Page 71 -
P. 71

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               ระดับ 1        0      มิลลิเมตร     ระดับ 2  0-3    มิลลิเมตร
               ระดับ 3        3-6    มิลลิเมตร     ระดับ 4 6-9    มิลลิเมตร
               ระดับ 5      มากกว่า 9   มิลลิเมตร

               ตารางที่ 3 ประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟต (CaHPO 4) ของราดินที่แยกจากพื้นที่ลุ่มน้ำปาย จ. แม่ฮ่องสอน

                           สายพันธุ์          เส้นผ่านศูนย์กลาง  รัศมีโคโลนี                    การเกิดวงใส    ค่าการละลาย
                                                  โคโลนี        (ซม.)      (ซม..)        ฟอสเฟต
                                                   (ซม..)
                Talaromyces sp.(2-22)           4.22 ±0.43    2.11± 0.22  0.17 ±0.06   1.07 ±0.03
                Penicillium sp.(2-44)           3.65 ±0.05    1.83 ±0.03  0.10 ±0.00   1.10 ±0.00
                Talaromyces sp.(3-29)           3.68 ±0.14    1.84 ±0.07  0.10 ±0.00   1.10 ±0.00
                Sterile mycelium (3-32)         2.10 ±0.15    1.05 ±0.08  0.10 ±0.00   1.10   ±0.01
                Talaromyces sp.(3-40)           4.03 ±0.16    2.02 ±0.08  0.10 ±0.00   1.03 ±0.00
                Sterile mycelium(3-74)          2.43 ±0.12    1.22 ±0.06  0.10 ±0.00   1.10 ±0.00
                A. niger (4-3)                  1.82 ±0.08    0.91 ±0.04  0.10 ±0.00   1.10 ±0.00
                Trichoderma sp.(4-16)           4.05 ±0.09    2.03 ±0.04  0.10 ±0.00   1.03 ±0.00
                Trichoderma sp.(4-17)           4.67 ±0.43    2.33 ±0.21  0.17 ±0.06   1.07 ±0.02
                A. niger (4-69)                 8.27 ±0.03    4.13 ±0.01  0.17± 0.06   1.00 ±0.01












                              ภาพที่ 2 ลักษณะของราดินที่สามารถย่อยสลายฟอสเฟตบนอาหาร Pikovskaya’s agar

                   3.  การทดสอบศักยภาพในการสร้างสารเร่งการเจริญเติบโต
                       ธาตุเหล็กในดินส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ สาร Siderophores คือสารที่จุลินทรีย์
               สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่นำเข้าธาตุอาหารและส่งผลพลอยได้ให้แก่พืช โดยช่วยให้พืชดูดซึมสารsiderophore ที่จับกับธาตุ
               อาหารโดยเฉพาะธาตุเหล็กได้เพิ่มขึ้น (Radzki et al., 2013) นอกจากจะช่วยในการนำเข้าธาตุอาหารเสมือนเป็นตัวช่วย
               ในการนำเข้าปุ๋ยให้แก่พืชแล้ว สาร siderophore ยังช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อก่อโรคพืชอีกด้วย โดยสาร
               siderophore จะแย่งจับธาตุเหล็กทำให้เชื้อก่อโรคขาดธาตุเหล็กและไม่สามารถเพิ่มจำนวนจนก่อโรคในพืชได้ การทดสอบ
               ประสิทธิภาพของราดินในการสร้างสารsiderophore พบราดินจำนวน 53 สายพันธุ์มีความสามารถในการสร้างสาร
               siderophore สายพันธุ์ที่สร้าง siderophore ได้มากที่สุดได้แก่รา Aspergillus niger สายพันธุ์ 4-69 มีค่าการสร้าง
               siderophore เท่ากับ 3.5 รองลงมาได้แก่รา Neosartorya sp. สายพันธุ์ 4-20 และ A. niger สายพันธุ์ 4-26 มีค่าการ
               สร้าง siderophore เท่ากับ 3.0 ดังแสดงในตารางที่ 4 ภาพที่ 3


                                                           63
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76