Page 68 -
P. 68

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               การทดสอบประสิทธิภาพของราดิน
                   1.  การทดสอบประสิทธิภาพในการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสเพื่อย่อยเซลลูโลส

                       การคัดแยกราดินที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสได้ การทดลองในครั้งนี้พบราดินจำนวน 24 สายพันธุ์ที่สามารถ
               สร้างเอนไซม์เซลลูเลสเพื่อมาย่อยเซลลูโลสได้ ในจานเลี้ยงเชื้อบนอาหาร Carboxyl methyl cellulose (CMC) agar
               ตามวิธีการของ Kasana et al. (2008) โดยเปรียบเทียบกับเอนไซม์เซลลูเลสที่สกัดจากรา Aspergillus niger (Sigma)
               10 mg/ml (2.41 Unit/ml) ซึ่งมีค่าการย่อยเซลลูโลสอยู่ที่ 9 ราดินที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสได้นับว่ามีบทบาทสำคัญ
               ในกระบวนการย่อยสลายปุ๋ยหมัก (Dindal, 1978) การศึกษาราดิน ที่ผลิตเซลลูเลสเพื่อย่อยสลายเซลลูโลสจึงมี
               ความสำคัญมากต่อการทำปุ๋ยหมักที่ใช้เซลลูโลสเป็นวัสดุหมัก ซึ่งราดินที่คัดแยกได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นปุ๋ย
               จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเช่นเร่งการงอกของรากเมล็ดพืช ในรูปหัวเชื้อปุ๋ยหมักซึ่งอาจช่วยให้
               ระยะเวลาในการทำปุ๋ยหมักสั้นลง เช่นการทดลองของ Wang et al. (2011) ศึกษาดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ผักกระหล่ำ
               ปลีที่เพาะในปุ๋ยหมักที่มีการผสมเชื้อรา Penicillium expansum พบว่าดัชนีการงอกสูงถึง 150% การทดสอบครั้งนี้พบ
               ราดินจำนวน 5 สายพันธุ์ที่สามารถสร้างเอนไซม์เซลลูเลสได้ดีกว่าเอนไซม์เซลลูเลสที่สกัดจากรา Aspergillus  niger
               ได้แก่ สายพันธุ์ รา Talaromyces sp. สายพันธุ์ 2-24, รา Trichoderma spp. สายพันธุ์ 2-15, 2-16, รา Aspergillus
               niger สายพันธุ์ 2-43 และ รา Trichoderma sp. สายพันธุ์ 1-18 โดยมีค่าการย่อยเซลลูโลสอยู่ที่ 21.5, 20, 20, 14.3
               และ 9.3 ตามลำดับ ผลการทดสอบดังแสดงใน ตารางที่ 3 รูปที่ 1





























                                                           60
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73