Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               ประสิทธิภาพการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสโดยการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของการเกิดบริเวณใส (clear zone) ในหน่วย
               เซนติเมตร (ซม.)/เส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีเชื้อ (ซม.) โดยในการทดสอบนี้ใช้เอนไซม์ cellulase จาก Aspergillus niger
               (Sigma) 10 mg/ml (2.41 Unit/ml) เป็น positive control และใช้น้ำกลั่นเป็น negative control

                       3.  การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราในการละลายฟอสเฟตทำการทดลองสายพันธุ์ละ 3 ซ้ำ
                       การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราในการละลายฟอสเฟต (Malviya et al., 2011) เลี้ยงเชื้อราบนอาหารเลี้ยง
               เชื้อ PDA บ่มที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 5-7 วัน ขึ้นกับความสามารถในการเจริญของราแต่ละชนิด ทดสอบประสิทธิภาพใน
               การย่อยสลายฟอสเฟต ด้วยวิธี spot inoculation  บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Pikovskaya’s agar บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง
               เป็นเวลา 7 วัน จะสังเกตเห็นโซนใสรอบโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ทำการวัดรัศมี ของบริเวณใสและรัศมีของโคโลนี
               เพื่อนํามาคํานวณหาความสามารถในการละลาย ดังสูตรต่อไปนี้

                                       ค่าการละลายฟอสเฟต    =            รัศมีโคโลนี + รัศมีบริเวณใสรอบโคโลนี
                                                                                          รัศมีโคโลนี

                       4.  การทดสอบศักยภาพในการสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตทำการทดลองสายพันธุ์ละ 3 ซ้ำ
                              -  การทดสอบและคัดเลือกราที่สามารถสร้างสาร siderophore บนอาหารแข็งสูตร Chrome azurol
               S-modified Gaus No.1 (CAS-MGs-1) agar โดยใช้ cork borer ที่ปลอดเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร
               เจาะเส้นใยเชื้อราอายุ 7 วัน ที่เจริญบนอาหาร PDA จากนั้นใช้เข็มเขี่ยย้ายชิ้นวุ้นเชื้อรามาวางบนผิวหน้าอาหารสูตร
               CAS-MGs-1 agar โดยวางชิ้นวุ้นราบนอาหารทดสอบสามจุดโดยให้มีระยะห่างเท่าๆ กันนําไปบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศา
               เซลเซียส เป็นเวลา 14 วัน สังเกตการเปลี่ยนสีรอบจุดที่วางราบนอาหารทดสอบและวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปฏิกิริยา
               การเปลี่ยนสีที่เกิดขึ้น (Milagres et al., 1999)
                              -  การทดสอบความสามารถของราในการสร้างสารส่งเสริมการเจริญของพืช Indole acetic acid (IAA)
               ใช้ cork borer ขนาด ที่ปราศจากเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร เจาะเส้นใยราอายุ 7 วันที่เจริญบนอาหาร

               PDA จากนั้นใช้เข็มเขี่ย ถ่ายชิ้นวุ้นรา จำนวน 2 ชิ้น มาเลี้ยงในอาหารเหลว สูตร Czapek dox medium เติม 2%
               L-Tryptophan ที่บรรจุในหลอดทดลองปริมาตร 7 มิลลิลิตร แล้วนําไปเลี้ยงบนเครื่องเขย่าที่ ความเร็วรอบ 150 รอบต่อ
               นาที อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นเก็บสารละลายส่วนใสโดยนําน้ำเลี้ยงเซลล์มาปั่นเหวี่ยงที่
               ความเร็วรอบ 10,000 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เพื่อแยกสารละลายส่วนใส จากนั้นดูด
               สารละลายส่วนใสไปทดสอบหาปริมาณ IAA โดยทำปฏิกิริยากับสารละลาย Salkowski reagent ตรวจดูการเปลี่ยนแปลง
               ของสีวาเกิดสีชมพูหรือไม่ หากเกิดสีชมพูแสดงวามีการสร้าง IAA (Bric et al., 1991)
                       5. วิธีการทดสอบความเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อราสาเหตุโรคพืชทำการทดลองสายพันธุ์ละ 3 ซ้ำ
                              เลี้ยงเชื้อราปฏิปักษ์ และเชื้อราสาเหตุโรคพืชในอาหาร PDA เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นใช้ cork borer
               ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร เจาะโคโลนีของเชื้อราปฏิปักษ์ และเชื้อราสาเหตุโรคพืชวางบนอาหาร PDA ใน
               จานเลี้ยงเชื้อขนาด 9.0 เซนติเมตร โดยวางห่างจากขอบจานเลี้ยงเชื้อ 2 เซนติเมตร เป็นเวลา 4 วัน หลังจากนั้นนำเชื้อรา
               ปฏิปักษ์ที่ต้องการทดสอบมาวางไว้ฝั่งตรงข้ามและห่างจาก ขอบจานเลี้ยงเชื้อ 2 เซนติเมตร บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง จากนั้น
               บันทึกผลการยับยั้ง และหาเปอร์เซ็นต์การยับยั้งจากสูตรของ นริศ (2545)
                       การคำนวณเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญ
               เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญ (percent inhibition of radial growth-PIRG) คำนวณได้ดังนี้

                                                 R1 – R2
                           เปอร์เซ็นต์การยับยั้ง  =                             x 100
                                                   R1


                       R1 = ความยาวรัศมีของโคโลนีเชื้อสาเหตุโรคพืชในจานควบคุม
                       R2 = ความยาวรัศมีของโคโลนีเชื้อสาเหตุโรคพืชในจานทดสอบ
                        หาค่าเฉลี่ยความยาวรัศมีของโคโลนีแล้วนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง

                                                           56
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69