Page 66 -
P. 66

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               คณะ, 2548) รา Mucor sp. มีบทบาทในการย่อยสลายอินทรียวัตถุในธรรมชาติ (Domsch et al., 1993) และพบว่าเป็น
               hyperparasite ของรา Fusarium solani, Sclerotium borealis และ Clavicep purpurea และพบเป็นปรสิตเจริญ
               บนตัวแมลงชนิดต่าง ๆ (คนึงนิจ, 2545)

                       รา Ascomycota พบจำนวน 10 สกุล ส่วนใหญ่อยู่ในระยะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (anamorph) ราที่พบมาก
               ที่สุด ได้แก่ Aspergillus niger  ราชนิดนี้นำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมการผลิตกรดอินทรีย์หลายชนิด
               (นภา, 2540) มีรายงานว่าราในกลุ่ม Aspergillus  sp. มีความสามารถในการละลายฟอตเฟตได้ดีจากการทดลองครั้งนี้พบ
               มีรา A. niger 2 สองสายพันธุ์ที่สามารถละลายฟอสเฟตได้ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Nopparat et. al., 2007 ที่พบ
               รา A. niger จำนวน 2 สายพันธุ์ที่แยกได้จากดินใน จ.กาญจนบุรี มีความสามารถในการละลาย tricalcium phosphate
               ได้ในระดับดี  ราที่พบมากรองลงมาได้แก่ Talaromyces spp. รานี้สร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด และมี
               บทบาทสำคัญในการสร้างเอนไซม์ phosphatase เพื่อย่อยสลาย tricalcium phosphate การทดลองครั้งนี้พบรา
               Talaromyces spp. จำนวน 3 สายพันธุ์ที่สามารถละลายฟอสเฟต บนอาหาร Pikovskaya ได้ จากรายงานของ
               Stefanoni Rubio et al. (2015) พบรา Talaromyces flavus  ที่สามารถสร้างเอนไซม์ Phosphatase ในการละลาย
               ฟอสเฟต  มีรายงานว่าราในสกุลนี้ยับยั้งการเจริญของราสาหตุโรคพืชหลายชนิดเช่น Phytophthora parasitica สาเหตุ
               โรครากเน่าโคนเน่าของส้ม Fusarium oxysporum สาเหตุโรคเหี่ยวในพืชหลายชนิด Colletotrichum capsici สาเหตุ
               โรคแอนแทรกโนสของพริกและ C. gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของมะม่วง กล้วย มะละกอ (Dethoup,
               2007) รา Neosartorya  spp. พบทั้งหมด 23 สายพันธุ์พบมากรองจากรา Talaromyces spp. จำแนกได้ 2 ชนิด ได้แก่
               รา Neosartorya  ficheri  และ N.  spinosa ราในสกุลนี้มีรายงานการสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิดเช่น
               roquefortine, meleagrin , fumagillin, auranthine, neosartorin, palitanin, pyripyropenes, tryptoquivaline,

               tryptoquivalone (Samson et al., 2007) ในประเทศไทย Eamvijan et al. (2009) แยกรา Neosartorya จากดิน
               แหล่งต่าง ๆ พบรา Neosartorya  9 ชนิด ได้แก่ N. fischeri, N. graba, N. spinosa, N. hiratsukae, N. takakii, N.
               tatenoi  และ Neosartorya spp. เมื่อนํามาศึกษาความเป็นปฏิปักษ์กับราสาเหตุโรคพืชพบว่า Neosartorya spp. ทุก
               สายพันธุ์สามารถยับยั้งการเจริญของรา  Bipolaris maydis, Colletotrichum capsici, C. gloeosporioides,
               Fusarium oxysporum และ Pestalotiopsis sp. ราดินกลุ่ม Ascomycota เป็นราที่มีความสำคัญมากทางด้าน
               การเกษตร เช่น รา Trichoderma harzianum ใช้ในการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี เช่น โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากรา
               Pythium, Phytophthora, Sclerotium และ Rhizoctonia (จิระเดช, 2552) รา T. virens สามารถยับยั้งการเจริญของ
               ราสาเหตุโรคพืช หลายชนิด เช่น F. oxysporum, Pythium aphanidermatum เนื่องจากมีการสร้างเอนไซม์ไคติเนส
               และกลูคาเนส (คนึงนิจ, 2545; จิระเดช, 2552) ราชนิดอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ราในสกุล Aspergillus spp. เนื่องจากมี
               ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกรดอินทรีย์ต่าง ๆ เช่นรา Aspergillus niger ที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลส
               อะไมเลส เพคติเนส ไลเปส และโปรตีเอส ได้ (อาภรณ์ และไตรวิทย์, 2537; Smith and Moss, 1985; เลอลักษณ์ และ
               คณะ, 2535; มานะ, 2531) การผลิต เอนไซม์ไซลาเนส และไซลอสซิเดส ที่ใช้ในการแยกสกัดไซแลนจากเซลลูโลส ได้มา
               จาก รา Aspergillus  fumigatus (วิเชียร และคณะ, 2537) ราที่สำคัญอีกชนิดได้แก่รา Myrothecium verrucaria ซึ่ง
               พบในดินป่าแยกโดยวิธี soil plate method ราชนิดนี้มีรายงานการสร้างสาร trichothecene ที่มีผลยับยั้งการเจริญของ

               เชื้อมาลาเรีย (Isaka et al., 1999)









                                                           58
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71