Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การบันทึกข้อมูล
1. บันทึกขนาด clear zone
2. บันทึกภาพถ่าย
3. บันทึกประสิทธิภาพการสร้างสารเร่งการเจริญเติบโต การควบคุมเชื้อสาเหตุโรค และการสร้างเอนไซม์
ระยะเวลา ตุลาคม 2561 - กันยายน 2562
สถานที่ทำการทดลอง ณ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทาง
การเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ผลการทดลองและวิจารณ์
ทำการเก็บตัวอย่างดินในช่วงฤดูหนาว (เดือนธันวาคม) ฤดูร้อน (เดือนเมษายน) และฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม) จากพื้นที่ 4
แหล่ง คือ 1) พื้นที่ป่าปลายน้ำ น้ำ (19° 11' N 97° 59' E) และ 2) ดินพื้นที่ทำการเกษตรปลายน้ำ(19° 11' N 97° 59' E)
ที่ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 3) ดินพื้นที่ทำการเกษตรต้นน้ำ(19° 23' N 97° 57' E) 4) พื้นที่ป่าต้นน้ำ (19° 23' N
97° 57' E) ที่ ตัวอย่างดินต้นน้ำเก็บที่ บ้านแม่นะ อ.แม่นาเติง จแม่ฮ่องสอน ตัวอย่างดินปลายน้ำเก็บที่ บ้านผาบ่อง
ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยตัวอย่างดินที่เก็บจากพื้นที่เกษตรเป็นพื้นที่ปลูกข้าวสลับกับการปลูกถั่วเหลือง ข้อมูล
สภาพแวดล้อมพบว่าพื้นที่ป่าปลายน้ำและพื้นที่เกษตรปลายน้ำมีอุณหภูมิดินและอุณภูมิอากาศต่ำกว่าพื้นที่ป่าต้นน้ำและ
พื้นที่เกษตรต้นน้ำ (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ข้อมูลสภาพอุณหภูมิของตัวอย่างดินที่เก็บในพื้นที่ลุ่มน้ำปายในฤดูต่าง ๆ
ฤดูหนาว (ธ.ค. 59) ฤดูร้อน (เม.ย. 60) ฤดูฝน (ส.ค. 60)
พื้นที่ อุณหภูมิดิน อุณหภูมิ อุณหภูมิดิน อุณหภูมิ อุณหภูมิดิน อุณหภูมิ
(°C) อากาศ (°C) (°C) อากาศ (°C) (°C) อากาศ (°C)
ป่าปลายน้ำ 19 24 23 29 26 31
เกษตรปลายน้ำ 19 24 26 31 26 33
เกษตรต้นน้ำ 22 29 27 33 28 34
ป่าต้นน้ำ 22 27 25 31 27 32
เมื่อนำตัวอย่างดินมาแยกราโดยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ Soil dilution plate method, Soil plate method ,
Alcohol treatment method และ Heat treatment method สามารถแยกราดินได้ทั้งหมด 390 สายพันธุ์ นำมาจัด
จำแนกตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาสามารถจำแนกราดินได้ทั้งหมด 18 สกุล 18 ชนิด แบ่งเป็นราในกลุ่ม Zygomycota
4 สกุล Ascomycota 13 สกุล Basidiomycota 1 สกุล และราที่ไม่สร้างสปอร์ (sterile mycelium) จำนวน 55 สาย
พันธุ์ (ตารางที่ 2) สกุลที่พบมากในทุกพื้นที่ ราที่พบมากในทุกพื้นที่ ได้แก่ ราที่ไม่สร้างสปอร์ สร้างเพียงเส้นใยรา (Sterile
mycelium) พบจำนวน 55 สายพันธุ์ รองลงมาได้แก่รา Aspergillus niger (32 สายพันธุ์) Talaromyces spp.
(30 สายพันธุ์) และ Neosartorya spp. (23) ตามลำดับ ราที่พบเฉพาะในพื้นที่ทำการเกษตรได้แก่ รา Fusarium solani,
Sclelotium rolfsii และ Trichoderma harzianum ซึ่งราทั้ง 3 ชนิดที่พบในพื้นที่ทำการเกษตรนี้มีความสำคัญกับการ
ทำการเกษตรมากโดยรา F. solani และ S. rolfsii พบเป็นราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญได้แก่โรคเหี่ยวและโรครากเน่าโคนเน่า
เป็นต้น ส่วนรา T. harzianum เป็นราที่สามารถยับยั้งราสาเหตุโรคพืชในดินได้หลายชนิด เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละพื้นที่
พบว่าดินในพื้นที่ป่ามีจำนวนชนิดของราดินมากกว่าพื้นที่ทำการเกษตร (ตารางที่ 2) อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ทำเกษตรใน
ปัจจุบันที่มีการใช้สารเคมีจำนวนมากในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ อาจส่งผลให้ราดินบางชนิดที่ไม่สามารถปรับตัวให้
อยู่รอดได้และมีจำนวนลดน้อยลงหรืออาจหายไปจากพื้นที่นั้น
ราดินกลุ่ม Zygomycota เป็นราที่มีประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมอย่างมาก เช่น รา Rhizopus ที่มีรายงาน
ว่าสามารถใช้ผลิต tempe จากถั่วเหลืองได้ (นิยม, 2542) นอกจากนี้ยังมีรายงานการสร้างสารที่เป็นประโยชน์ทาง
อุตสาหกรรมจากราในกลุ่ม Zygomycota เช่น glucose, glutamic acid, serine, glycine และ glutamine (เลขา และ
57