Page 163 -
P. 163
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่พืชใช้ในการให้ผลผลิตทุเรียน
จากการประเมินปริมาณธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในดิน และปริมาณที่พืชดูดดึงออกไปโดยผลผลิตเก็บเกี่ยว
เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชใช้ไป พบว่า การใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรปฏิบัติในอัตรา1,480-1,110-2,240 กรัม
N-P 2O 5-K 2O ต่อต้นต่อปี ส่งผลให้ % recovery ของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เฉลี่ยทั้ง 2 ฤดูกาล อยู่ในระดับ
ต่ำที่สุด เท่ากับ 34 15 และ 38 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในอัตรา 1,150-490-1,710 กรัม
N-P 2O 5-K 2O ต่อต้นต่อปี ผลให้ % recovery ของฟอสฟอรัส เฉลี่ยทั้ง 2 ฤดูกาล อยู่ในระดับสูงที่สุด เท่ากับ 35 เปอร์เซ็นต์
และ การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของลักษณะเนื้อดินในอัตรา 1,135-1,110-1,670 กรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อต้นต่อปี ส่งผลให้ %
recovery ของไนโตรเจน และโพแทสเซียม เฉลี่ยทั้ง 2 ฤดูกาล อยู่ในระดับสูงที่สุด เท่ากับ 48 และ 54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
(Table 8) แสดงให้เห็นว่าการใส่ปุ๋ยทุกกรรมวิธีมีปริมาณธาตุอาหารพืชที่มากเกินกว่าการดูดดึงไปใช้ในการสร้างผลผลิตในแต่
ละฤดูกาลผลิต ยังคงมีมากเพียงพอให้สะสมข้ามฤดูได้ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามมักพบว่า
โพแทสเซียมแปรผันได้ง่ายตามปริมาณผลผลิตในแต่ละฤดู หากมีผลผลิตสูงมาก ควรพิจารณาปรับปริมาณโพแทสเซียมให้มาก
พอต่อการพัฒนาการของพืชในฤดูกาลถัดไปด้วย ดังนั้นการปรับปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมีให้สอดคล้องต่อระดับความอุดมสมบูรณ์
ของดินและปริมาณผลผลิตพืชจึงเป็นแนวทางการลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การเปลี่ยนแปลงสมบัติดินหลังการทดลอง
จากการวิเคราะห์สมบัติดินบางประการหลังการทดลอง พบว่า โดยทั่วไปแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ดินทั้ง 3 กรรมวิธี
ไม่ค่อยมีความแตกต่างจากดินสมบัติดินก่อนการทดลอง โดยมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางค่อนข้างสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
ปริมาณอินทรียวัตถุในดินปานกลาง อยู่ในช่วง 1.83-2.26 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงมาก อยู่ในช่วง 381-394
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีแนวโน้มการสะสมฟอสฟอรัสเพิ่มสูงขึ้นทั้ง 3 กรรมวิธี โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับปาน
กลางค่อนข้างสูงมีการเปลี่ยนแปลงสะสมมากขึ้นในระดับสูงมากทั้ง 3 กรรมวิธี โดยมีค่าเฉลี่ย 214-286 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และยังคงมีปริมาณแคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินที่ใกล้เคียงกันทั้ง 3 กรรมวิธีเช่นกัน โดยมีแคลเซียมเพิ่มขึ้น
เป็น 90-148 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เฉลี่ย 11-16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ (Table 7)
สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ/คำแนะนำ
การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ดิน และการชดเชยปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
สามารถกำหนดปริมาณการให้ปุ๋ยทุเรียนตามค่าวิเคราะห์ดินและผลผลิตพืชแปลงสวนเกษตรกร อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัด
สุราษฏร์ธานี โดยอัตราการให้ปุ๋ย 1,150-490-1,710 กรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อต้นต่อปี สำหรับต้นทุเรียนที่มีอายุ 12-15 ปี
เนื่องจากให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio ; BCR) สูงกว่าวิธีเดิมของเกษตรกร และช่วยลดความ
สิ้นเปลืองในการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ 18 เปอร์เซ็นต์ และไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต คุณภาพการบริโภค ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้การเพิ่มประสิทธิภาพการให้ปุ๋ยทุเรียนเชิงการค้า ไม่ควรมุ่งลดต้นทุนค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมี
เพียงอย่างเดียว ควรคำนึงถึงการจัดการธาตุอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต การออกดอก และการพัฒนาการของ
ผลผลิตทุเรียน
การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้แนวทางการพัฒนาคำแนะนำการใช้ปุ๋ยทุเรียนรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมต่อพันธุ์ และแหล่งปลูกในเชิงการค้า
ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนได้
155