Page 161 -
P. 161
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โพแทสเซียม 1.5-2.5 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.7-2.5 เปอร์เซ็นต์ และแมกนีเซียม 0.25-0.50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้มี
การศึกษาอิทธิพลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (1,000 1,500 และ 2,000 กรัมต่อต้น) และโพแทสเซียม (2,000 และ 3,000 กรัม
ต่อต้น) ต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของธาตุอาหารและผลผลิตในใบทุเรียน พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียม
ทุกอัตราไม่มีผลต่อความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและแมกนีเซียมและผลผลิตทุเรียน สอดคล้องกับการศึกษาของ Lim และ
Lauders (1996) ถึงการเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหารในใบและธาตุอาหารของดินในประเทศออสเตรเลีย พบว่ามีความสัมพันธ์
กับการเจริญและพัฒนาในรอบปีของทุเรียนเป็นเวลาต่อเนื่องกัน 3 ปี ได้ค่ามาตรฐานธาตุอาหารเบื้องต้นในใบทุเรียนของ
ออสเตรเลีย คือ ไนโตรเจน 1.58-1.98 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.18-0.22 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.48-1.96 เปอร์เซ็นต์
แคลเซียม 1.11-1.88 เปอร์เซ็นต์ และแมกนีเซียม 0.83-1.13 เปอร์เซ็นต์ ส่วนองค์ประกอบธาตุอาหารในผลทุเรียน พบว่า
โพแทสเซียมอยู่ในระดับสูงสุด เท่ากับ 27.9 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ รองลงมาคือ ไนโตรเจน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และ
แคลเซียม เท่ากับ 16.1 3.26 2.72 และ 1.99 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ และรายงานว่า การเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหาร
ในใบทุเรียนและธาตุอาหารในดินมีความสัมพันธ์กับการเจริญและพัฒนาในรอบปีของทุเรียน ธาตุอาหารหลักและจุลธาตุในใบ
(สังกะสี และโบรอน) จะลดลงในระยะติดผลและช่วงที่ผลกำลังพัฒนา ส่วน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม
และ แมกนีเซียม ในดินมีแนวโน้มลดลงในช่วงที่ผลิใบใหม่และช่วงที่ผลกำลังพัฒนา สำหรับ ไนโตรเจน ในใบจะลดลงเมื่อมีการ
ผลิยอดใหม่ และจากการศึกษาประเมินอัตราการให้ปุ๋ยเคมีทางระบบการให้น้ำอัตราต่างๆ ได้นำข้อมูลจากการประเมินปริมาณ
ธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิตเก็บเกี่ยว ร่วมกับผลวิเคราะห์สถานะธาตุอาหารพืชในดินและใบทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อกำหนดอัตราการให้ปุ๋ยเคมีทางระบบการให้น้ำ เปรียบเทียบกับการให้ปุ๋ยเคมีแบบเม็ดหว่าน
ทางดินอัตราแนะนำที่เกษตรกรทั่วไปปฏิบัติ พบว่า ผลผลิตทุเรียนต่อหน่วยน้ำหนักปุ๋ยที่ใช้ มีค่ามากกว่า และมีดัชนีของ
ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมากกว่าวิธีการให้ปุ๋ยเคมีแบบเม็ดหว่านทางดินประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ส่งผลต่อสถานะของ
ธาตุอาหารพืชหลักในดินและใบทุเรียน (ปัญจพร และคณะ, 2547) ดังนั้นการศึกษาการใช้ประโยชน์ผลวิเคราะห์ดินและพืช
นับเป็นอีกแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่ได้อีกรูปแบบหนึ่ง
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์
1) ต้นทุเรียนหมอนทองอายุ 15 ปี 2) ปุ๋ยเคมีเกรด 10-0-4, 21-0-0, 9-25-25, 12-12-17 และ 0-0-50 3)
สารควบคุมกำจัดศัตรูพืชและโรคพืช 4) อุปกรณ์เก็บตัวอย่างดิน ได้แก่ สว่านเจาะดิน จอบ เสียม ถังพลาสติก ถุงพลาสติก
เก็บตัวอย่างดิน ยางรัดถุง และ 5) สารเคมีสำหรับวิเคราะห์ตัวอย่างดินและพืช
วิธีการ
คัดเลือกแปลงทดลองของเกษตรกรจำนวน 1 แปลงทดลอง บันทึกพิกัดตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างโดยใช้เครื่องวัดพิกัด
ทางภูมิศาสตร์ เลือกตัวแทนต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว อายุประมาณ 15 ปี วางแผนการทดลองแบบ Randomized
complete block design ประกอบด้วย 3 กรรมวิธีๆ ละ 7 ซ้ำ ดังนี้ 1) การใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรปฏิบัติ (อัตรา 1,480-
1,110-2,240 กรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อต้นต่อปี) 2) การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและพืช (อัตรา 1,150-490-1,710 กรัม
N-P 2O 5-K 2O ต่อต้นต่อปี) และ 3) การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำลักษณะเนื้อดิน (อัตรา 1,135-1,110-1,670 กรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อ
ต้นต่อปี) สุ่มเก็บตัวอย่างดินแปลงทดลองที่ระดับความลึก 0-15 และ 15-30 เซนติเมตร ก่อนดำเนินการและหลังจากเริ่มการ
ทดลอง นำมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและกายภาพบางประการในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ เนื้อดิน ความหนาแน่นดินรวม ความ
เป็นกรด-ด่าง ความต้องการปูน ค่าการนำไฟฟ้า ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ
(organic matter) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน และโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ใน
ดิน ตามวิธีการของคณะทำงานปรับปรุงมาตรฐานการวิเคราะห์ดิน กรมวิชาการเกษตร (2544) เก็บตัวอย่างใบทุเรียน จำนวน
10-12 ใบย่อยต่อต้น โดยเก็บตัวอย่างใบในระยะใบเพสลาด (อายุใบประมาณ 45-60 วัน หลังแตกใบใหม่) จากกิ่งที่สูง
153