Page 160 -
P. 160
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยทุเรียนตามค่าวิเคราะห์ดินในแหล่งผลิตภาคใต้ตอนบน ในสวนเกษตรกร
ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พิกัดทางภูมิศาสตร์ 47P 537797 E 981415 N ATL 44 m โดยจัดทำ
แผนการใส่ปุ๋ย 3 กรรมวิธี 7 ซ้ำ ซึ่งประกอบด้วย การใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรปฏิบัติ (1,480-1,110-2,240 g N-P 2O 5-K 2O/ต้น/
ปี) การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (1,150-490-1,710 g N-P 2O 5-K 2O /ต้น/ปี) และการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของลักษณะเนื้อดิน
(1,135-1,100-1,670 g N-P 2O 5-K 2O /ต้น/ปี) ในระหว่างสองฤดูกาลผลิตปี 2560-2562 พบว่า การให้ปุ๋ยทั้ง 3 กรรมวิธี
ส่งเสริมให้จำนวนผลผลิต น้ำหนักผล คุณภาพการบริโภคและสัดส่วนที่บริโภคได้ของทุเรียนไม่แตกต่างทางสถิติ โดยมีผลผลิต
ปริมาณเฉลี่ยจากสองฤดูกาลผลิต 141-144 กิโลกรัมต่อต้น และ 173-193 กิโลกรัมต่อต้น ซึ่งจะเห็นว่าการลดปริมาณการให้
ปุ๋ยเคมีในอัตราการประเมินตามค่าวิเคราะห์ดิน ยังคงให้ผลผลิตและคุณภาพการบริโภคได้ดีไม่แตกต่างจากการให้ปุ๋ยตามที่
เกษตรกรปฏิบัติ นอกจากนี้ในกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้มีค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลดลงได้อีก 18 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรปฏิบัติ และกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน
(BCR) มากกว่ากรรมวิธีการใส่ปุ๋ยตามอัตราที่เกษตรกรปฏิบัติทั้งสองฤดูกาลผลิต เท่ากับ 5.39 และ 8.81 ตามลำดับ
คำสำคัญ : ทุเรียน, การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน, การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของลักษณะเนื้อดิน
คำนำ
ทุเรียน เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ มีแหล่งผลิตในจังหวัดจันทบุรี ชุมพร ระยอง ยะลา และ นครศรีธรรมราช ในปี
2555 สามารถส่งออกทุเรียนผลสดได้ 325,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ามากถึง 5,790 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,
2556) แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านต้นทุนการผลิตสูง แนวทางพัฒนาด้านการผลิตจึงมุ่งเน้น การวิจัยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการ
ผลิตและการลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยมีประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนาม มาเลเซีย และ
ออสเตรเลีย ซึ่งการจัดการปุ๋ยเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตและศักยภาพการผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนส่วนใหญ่มีการใส่ปุ๋ยตามวิธีการและสูตรปุ๋ยที่นิยมปฏิบัติสำหรับไม้ผลทั่วไป โดยการใช้ปุ๋ยเคมีรวมทุก
สูตรเฉลี่ย 7-13 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (Subhadrabandhu and Saichol, 2001) แต่ไม่มีการใส่ปุ๋ยที่เฉพาะเจาะจงต่อพันธุ์และ
พื้นที่ปลูก ซึ่ง การใส่ปุ๋ยเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปนอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังอาจมี
ผลทำให้เสียสมดุลของธาตุอาหารและมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช การจัดการปุ๋ยให้เพียงพอกับความ
ต้องการของพืชและให้ปุ๋ยทดแทนเท่ากับปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปในระหว่างการปลูกพืชจึงเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย สามารถหลีกเลี่ยงการได้รับธาตุอาหารหลักมากเกินไปจนเกิดภาวะการขาดแคลนจุลธาตุและ
ช่วยลดปัญหาดินเสื่อมโทรม (Weinbaum, 1992)
ปัจจุบันเทคโนโลยีการวิเคราะห์พืชมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการธาตุอาหารซึ่งเทคนิคการวิเคราะห์ได้รับการพัฒนา
มาจากข้อมูลสถานะธาตุอาหาร และปริมาณความต้องการธาตุอาหารพืช เพื่อสนับสนุนผลการวิเคราะห์ดินและพัฒนาการ
จัดการธาตุอาหารพืชในแต่ละฤดูกาลผลิตได้สะดวก ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น (Snyder, 1998) การวิเคราะห์ดินแสดงให้ทราบถึง
คุณสมบัติดินว่ามีปริมาณธาตุอาหารในรูปที่เป็นประโยชน์เพียงพอต่อความต้องการของพืชหรือไม่ ส่วนการวิเคราะห์พืชแสดง
ถึงปริมาณธาตุอาหารที่พืชดูดจากดินมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งการประเมินธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต (crop removal)
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าขณะนั้นพืชสามารถดูดธาตุอาหารจากดินมาใช้ได้และมีการสูญเสียธาตุอาหารไปกับผลผลิตซึ่ง
ถูกเก็บเกี่ยวไปเท่าใด จากการศึกษาของสุมิตรา และคณะ (2544) ในการประเมินระดับธาตุอาหารและติดตามการ
เปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในทุเรียนพันธุ์หมอนทอง โดยใช้วิธีเก็บตัวอย่างใบที่มีอายุ 5-7 เดือน ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี พบว่า
วิธีการเก็บตัวอย่างใบในตำแหน่งและอายุใบดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารที่ใกล้เคียงกันสามารถนำมาสร้าง
ค่ามาตรฐานสำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ดังนี้ ไนโตรเจน 2.0-2.4 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.15-0.25 เปอร์เซ็นต์
152