Page 151 -
P. 151
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 3 ความสามารถในการผลิตจิบเบอเรลลิน (GA 3) ความสามารถในการละลายฟอสเฟต และความสามารถในการ
ผลิตสาร siderophore ของเชื้อบริสุทธิ์ที่แยกได้จากตัวอย่างดิน
ความสามารถในการละลายฟอสเฟต ความสามารถใน
ไอโซเลท ความสามารถในการผลิต Pikovskaya’ การผลิต
จิบเบอเรลลิน (ppm) medium SRSM สารซิเดอโรฟอร์
Azopirillum brasilense
(DASF04003) 180.77 + + +
Azopirillum brasilense
(DASF04005) 210.01 + + +
Azotobacter vinelandii
DASF04141 176.07 - + +
Azopirillum (AP1) 153.59 - + -
Azopirillum (AP3) 338.32 - + -
Azopirillum (AP4) 154.15 - + -
Azopirillum (AP5) 184.73 - + -
Azopirillum (AP7) 183.21 - + -
Azotobacter (AT1) 231.33 - -
+
Azotobacter (AT4) 156.18 - + -
Azotobacter (AT9) 207.42 - + -
Azotobacter (AT10) 595.52 - + -
หมายเหตุ : + = ให้ผลเป็นบวกในการทดสอบ
- = ให้ผลเป็นลบในการทดสอบ
2. จำแนกสกุลและชนิดโดยวิธีทางสรีระวิทยา ชีวเคมี และเทคนิคมัลดิทอฟ (MALDI-TOF)
2.1 การศึกษาทางสรีระวิทยา (Morphology)
Azospirillum
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ Azospirillum โดยการย้อมแกรมติดสีแดง (แกรมลบ) มีรูปร่างเป็น
แท่งโค้งเล็กน้อย ขนาดประมาณ 1 ไมโครเมตร มีเพอริทริคัสแฟลกเจลลา (peritrichous flagella) เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่
และโพลาร์แฟลกเจลลา (polar flagella) เพื่อใช้ในการแหวกว่าย มีการสะสมแกรนูลของ พอลิ-บีต้า-ไฮดรอกซีบิวทิเรต
(poly-ß-hydroxybutyrate; PHB) (Fibach-Paldi et al., 2012) Azospirillum เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินและมี
ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ จำนวน 15 species โดย species ที่มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์กับพืช
มากที่สุดคือ A. brasilense ส่วน A. lipoferum A. amazonenze และ A. irakense จะมีการยึดเกาะบริเวณผิวรากพืช
(Cassan et al., 2015) สามารถปรับตัวให้เจริญเติบโตได้ทั้งในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย โดยจะดำรงชีวิตแบบ
microaerophilic
Azotobacter
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ Azotobacter โดยการย้อมแกรมติดสีแดง (แกรมลบ) เซลล์มี
รูปร่างรีหรือทรงกลม สอดคล้องกับรายงาน Jensen (1954) และ Holt et al. (1994) ซึ่งบรรยายลักษณะทางสัณฐาน
วิทยาของเชื้อ Azotobacter ว่าเซลล์มีขนาด 1-2 ไมโครเมตร ส่วนใหญ่รูปร่างรี แท่ง หรือทรงกลม เมื่อศึกษาภายใต้
กล้องจุลทรรศน์เซลล์อาจอยู่รวมเป็นกลุ่มหรือต่อกันเป็นสาย มีแฟลกเจลลา (flagella) เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ และสร้าง
เมือก (mucus) และแคปซูล (capsule) บางชนิดสร้างเม็ดสี (pigment) เช่น สีเขียวอมเหลือง สีม่วง หรือสีน้ำตาลเข้ม
143