Page 146 -
P. 146
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นพื้นที่ ที่เริ่มมีการบุกรุกป่าเพื่อทำการเขตกรรม นอกจากนี้ยังสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการผลิต
พืชสำหรับพื้นที่อื่นๆ ที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เพื่อบรรเทาหรือหยุดยั้งผลกระทบและ
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อเหตุการณ์ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ทาง
การเกษตรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชให้ยั่งยืนต่อไป โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาศักยภาพของแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่แยกได้จากพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศบริเวณลุ่มน้ำปาย และคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงสุดเพื่อนำไปพัฒนาปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ที่มีประสิทธิภาพ
สูงและเหมาะกับทุกพื้นที่
วิธีดำเนินการทดลอง
อุปกรณ์
1. เชื้อแบคทีเรียสกุล Azospirillum brasilense (DASF04003, DASF04005) และ Azotobacter vinelandii
(DASF04141) ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์–วัน และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์–ทู
2. เมล็ดพันธุ์ข้าว ข้าวโพด และกระเทียม
3. API 20NE kit
4. สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงเชื้อ
วิธีการ
1. การคัดแยกแบคทีเรีย
เก็บตัวอย่างดินจำนวน 4 จุด รวม 36 ตัวอย่าง ในพื้นที่การผลิตพืชในชุมชนเกษตรและพื้นที่ป่าของลุ่มน้ำ
ปาย อำเภอปายและเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และทำการแยกเชื้อบริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการด้วยอาหารเฉพาะสำหรับ
แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต เช่น อาหาร Nitrogen free semisolid matate (NFb), NFb + Congo red (RC) และ
LGI โดยคัดเลือกโคโลนีที่แตกต่างกัน และเก็บเชื้อบนอาหารวุ้นเอียงสำหรับไว้ศึกษาต่อไป
2. วัดประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรีย ดังนี้
2.1 ประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนด้วยวิธี Acetylene Reduction Assay (ARA) เลี้ยงเชื้อในอาหารกึ่งเหลว
NFb และบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จากนั้นเปลี่ยนจุกหลอดอาหารเลี้ยงเชื้อให้เป็นจุกยางสำหรับเก็บก๊าซ
ทำการอัดก๊าซอะเซทิลีนลงไปในส่วนปริมาตรเหนืออาหาร 10 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร หลังจากนั้นทำการบ่มต่อที่
อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เมื่อครบเวลาทำการดูดก๊าซจากหลอดปริมาตร 1 มิลลิลิตร และวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Gas
Chromatograph
2.2 การผลิตสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
2.2.1 การผลิตฮอร์โมน IAA (Indole-3-Acetic Acid) โดยเลี้ยงเชื้อในอาหารจำเพาะของแต่ละสกุล บ่มไว้ที่
อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง จากนั้นย้ายไปเลี้ยงในอาหาร NFb broth ที่เติม L–tryptophan
1 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 10 มิลลิลิตร บ่มไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมงนําไปปั่นเหวี่ยงที่
15,000 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 นาที ดูดสารละลายส่วนใส 0.5 มิลลิลิตร ใส่ลงในหลอด
ทดลอง เติม Salkowski reagent 2 มิลลิลิตร และน้ำกลั่น 0.5 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปบ่มในที่มืดเป็นเวลา 30
นาที หลังจากนั้นทำการวัดค่าการดูดกลืนแสงของสารละลายด้วยเครื่อง spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 630
นาโนเมตร คำนวณปริมาณ IAA ที่แบคทีเรียสร้างเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน
2.2.2 การผลิตจิบเบอเรลลิน (GA 3) โดยเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่คัดเลือกจากข้อ 2.1 และ 2.2.1 ในอาหาร
จำเพาะของแต่ละสกุล บ่มไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง จากนั้นย้ายไปเลี้ยงในอาหารเหลว
Nutrient broth (NB) ปริมาตร 5 มิลลิลิตร บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เมื่อครบ 48 ชั่วโมง เติม tryptophan
ความเข้มข้น 200 มิลลิโมลาร์ เพื่อเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์จิบเบอเรลลิน บ่มเชื้อต่อเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้น
นำไปปั่นเหวี่ยงที่ 15,000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 5 นาที ที่อุณหภูมิ 4องศาเซลเซียส ดูดสารละลายส่วนใสปริมาตร 2.5
มิลลิลิตร มาทดสอบการผลิตปริมาณการผลิตจิบเบอเรลลินด้วยวิธีการของ Paleg (1965) วัดค่าการดูดกลืนแสงของ
138