Page 145 -
P. 145

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                          บทคัดย่อ
                       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่แยกได้จากพื้นที่ได้รับ
               ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบริเวณลุ่มน้ำปายในระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึง กันยายน 2562 และ
               คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงเพื่อนำไปพัฒนาปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะกับทุกพื้นที่ โดย
               สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์จากดินที่สามารถเจริญเติบโตบนอาหารวุ้นแข็งได้จำนวน 33 ไอโซเลท และจำแนกด้วยเทคนิค
               มัลดิทอฟ (MALDI-TOF) ได้ 2 สกุล คือ Azospirillum และ Azotobacter พร้อมทั้งทำการวัดความสามารถในการตรึง
               ไนโตรเจนและความสามารถในการผลิต IAA ของเชื้อบริสุทธิ์ที่แยกได้ ซึ่งเป็นความสามารถหลักของเชื้อกลุ่มนี้เพื่อคัดเลือก
               ไปทดสอบความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตกับพืชทดสอบ ผลการทดลองพบว่า เชื้อสกุล Azotobacter
               มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนสูงว่าเชื้อสกุล Azospirillum แต่มีความสามารถในการผลิต IAA ได้ต่ำกว่า เมื่อนำ
               Azospirillum 5 สายพันธุ์ และ Azotobacter 4 สายพันธุ์ มาศึกษาการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
               พันธุ์ 999 ข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง และกระเทียมพันธุ์พื้นเมืองในห้องปฏิบัติการ พบว่าแบคทีเรียทั้งสองสกุลทุกไอโซเลท
               มีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชทดสอบแตกต่างกัน โดยแบคทีเรียไอโซเลท AP1 มีความสามารถ
               ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชทดสอบทั้ง 3 ชนิดสูงที่สุด รองลงมา คือ แบคทีเรียไอโซเลท AT1

               คำสำคัญ : แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ลุ่มน้ำปาย
                                                           คำนำ

                       การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคของ
               โลก หลายภาคส่วนได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเตรียมความพร้อมในการ
               แก้ไขปัญหาดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสาเหตุหลักเกิดมาจากสภาวะโลกร้อน (Global warming)
               ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง พายุที่รุนแรง
               ส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ภาคการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการ
               เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้ศักยภาพในการผลิตลดลงเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
               กระบวนการทางสรีระวิทยาของพืช ตัวอย่างเช่น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบการผลิตข้าว
               พบว่าข้าวทุกสายพันธุ์มีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ทำให้อายุข้าวสั้นลงและผลผลิตข้าวลดลง นอกจากนี้ยัง
               มีผลต่อการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าวด้วย  สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อจุลินทรีย์ดิน
               ที่มีประโยชน์ทางการเกษตรต่าง ๆ โดยปัจจัยทางภูมิอากาศ เช่น ปริมาณน้ำฝน การกระจายของน้ำฝน การทิ้งช่วงของฝน
               พร้อมทั้งอุณหภูมิเฉลี่ย อุณหภูมิสูงสุด ต่ำสุดที่เกิดขึ้นมีผลต่อ แหล่งที่อยู่อาศัย ชนิด และประชากรของจุลินทรีย์ดินทั้งสิ้น
               การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจทำให้จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ทางการเกษตรบางชนิดไม่สามารถปรับตัวได้
               ทำให้เกิดแรงกดดันในการเคลื่อนย้ายเพื่อหาที่อยู่อาศัยใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีอุปสรรคจากการทำการเกษตรที่มีการ
               ใช้สารเคมี และการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร ทำให้จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ทางการเกษตรหลายชนิดอาจสูญพันธุ์

               ไปจากแหล่งที่อยู่อาศัยเดิม
                       การศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรจุลินทรีย์ดินที่ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการ
               เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ป่ากับพื้นที่ที่ถูกรบกวนจากการเขตกรรม ในแต่
               ละช่วงเวลาในรอบ 1 ปี ซึ่งสามารถระบุชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ดินชนิดต่าง ๆ ที่อาจพบเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปจากแหล่ง
               อาศัยในระบบนิเวศน์นั้นๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งการดำรงชีวิตของ
               จุลินทรีย์ดินบางชนิดที่สามารถปรับตัว และยังคงกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนเกื้อกูลต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัยนั้นๆ
               โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ดินที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเป็นอีกกลุ่มที่เป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์
               ของดิน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ดินที่แยกได้จากพื้นที่ที่ทำการศึกษาซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดินที่ผ่านการปรับตัวให้มี
               ชีวิตอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการ
               ผลิตพืชในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งงานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่จะผลิตพืชในชุมชน
               เกษตรของลุ่มน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ

                                                          137
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150