Page 140 -
P. 140

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               ไร่ ตามลำดับ  (ตารางที่ 2) จากผลการทดลองข้างต้นสอดรายงานของ Hungria et al. (2010) ที่กล่าวว่า การใส่เชื้อ
               Azospirillum brasilense ก่อนการปลูกสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโพดได้ 24-30% เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่เชื้อ
                    - น้ำหนักเมล็ด

                       ผลผลิตเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 ที่ความชื้น 14% พบว่า ทั้งสองแปลงทดลองทุกกรรมวิธีมีผลผลิต
               เมล็ดข้าวโพดไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยในแปลงทดลองที่ 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน ทุกกรรมวิธีมี
               ผลผลิตเมล็ดข้าวโพดสูงกว่าแปลงทดลองที่ 1 นอกจากนี้ยังพบว่า ในแปลงทดลองที่ 1 กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีใส่ปุ๋ยเคมี
               15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) มีน้ำหนักเมล็ดสูงที่สุด คือ 246 กิโลกรัมต่อไร่
               รองลงมา คือ กรรมวิธีที่ 5 AT1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 4 AP1 ร่วมกับ
               ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มีผลผลิตเมล็ด 225 และ 216
               กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ (ตารางที่ 2)  ส่วนในแปลงทดลองที่ 2 พบว่า กรรมวิธีที่ 3 DASF04003 + ปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5
               กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชชนิดอ้างอิง) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มี
               ผลผลิตเมล็ดสูงที่สุด คือ 388 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ คือ กรรมวิธีที่ 4 AP1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม
               N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีใส่ปุ๋ยเคมี 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่า
               วิเคราะห์ดิน) ที่มีผลผลิตเมล็ด 384 และ 381 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
                    - น้ำหนัก 100 เมล็ด
                       น้ำหนัก 100 เมล็ดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 ของทั้งสองแปลงทดลองในทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่าง
               กันทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ใส่แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้ง 3 ไอโซเลทไม่มีความแตกต่างกับกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมี
               เพียงอย่างเดียวและกรรมวิธีที่ไม่ใส่ปุ๋ย ซึ่งในแปลงทดลองที่ 1 พบว่า กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย (control) มีน้ำหนัก 100

               เมล็ดสูงสุด คือ 33.6 กรัม (ตารางที่ 2) ส่วนในแปลงทดลองที่ 2 พบว่า กรรมวิธีที่ 5 AT1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5
               กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มีน้ำหนัก 100 เมล็ดสูงสุด คือ 37.2 กรัม และทุกกรรมวิธี
               ของแปลงทดลองที่ 2 มีน้ำหนัก 100 เมล็ดสูงกว่าแปลงทดลองที่ 1 ดังแสดงในตารางที่ 2
               ประชากรแบคทีเรีย
                      ในการทดลองนี้ก่อนเริ่มทำการทดลองได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินเพื่อนับจำนวนประชากรแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิด
               คือ Azospirillum sp. และ Azotobacter sp. โดยจำนวนประชากรของ Azotobacter sp. ก่อนการทดลองของทั้งสอง
               แปลงทดลองนั้นไม่สามารถตรวจนับได้ นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนประชากรของ Azospirillum sp. ของทั้งสองแปลง
               ทดลองมีปริมาณอยู่ระหว่าง 3.37–4.02 Log 10 CFU/ml ดังแสดงในตารางที่ 3 ซึ่งเมื่อตรวจนับจำนวนประชากรของ
               แบคทีเรียหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า เกือบทุกกรรมวิธีมีปริมาณ Azospirillum sp. เพิ่มขึ้นโดยมีปริมาณอยู่ระหว่าง
               3.85–5.26 Log 10 CFU/ml และไม่สามารถตรวจนับจำนวนประชากรของ Azotobacter sp. ได้ ซึ่งขัดแย้งกับรายงาน
               Bashan and Levanony, 1990, Meunchang et al., 2006a, Meunchang et al., 2006b ที่รายงานว่า โดยทั่วไปหลัง
               การใส่ปุ๋ยชีวภาพปริมาณประชากรแบคทีเรียจะลดอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของสภาพแวดล้อมซึ่งไม่
               สามารถควบคุมได้ จึงมักพบว่าผลการทดลองในสภาพปลอดเชื้อกับในธรรมชาติมีความแตกต่างกันมาก ส่วนประสิทธิภาพ
               การตรึงไนโตรเจนของเชื้อแบคทีเรียในทุกกรรมวิธีมีค่าอยู่ระหว่าง 0.025–0.039 µmol C 2H 2/hr  และยังพบว่า กรรมวิธี

               ที่ 5 ของทั้งสองแปลงทดลอง (ใส่แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต ไอโซเลท AT1ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ) มี
               ประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนเท่ากันและต่ำที่สุด คือ 0.025 µmol C 2H 2/hr (ตารางที่ 3)
                                             สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
                      การใช้แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งสองสกุล คือ Azospirillum sp. และ Azotobacter sp. ในการปลูก
               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 ให้ผลไม่แตกต่างกัน และยังพบว่าการใช้แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งสองสกุล
               ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตได้ จึงควรมีการศึกษาต่อในระยะยาวเพื่อให้ได้ผลที่

               ชัดเจนมากขึ้น


                                                          132
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145