Page 137 -
P. 137

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                           คำนำ

                       การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ ในระดับภูมิภาค
               ของโลก  หลายภาคส่วนได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเตรียมความพร้อมใน
               การแก้ไขปัญหาดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  สาเหตุหลักเกิดมาจากสภาวะโลกร้อน (Global warming)
               ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง พายุที่รุนแรง
               ส่งผลกระทบถึงการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ภาคการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการ
               เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้ศักยภาพในการผลิตลดลงเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
               กระบวนการทางสรีระวิทยาของพืช การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจทำให้จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ทาง
               การเกษตรบางชนิดไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เกิดแรงกดดันในการเคลื่อนย้ายเพื่อหาที่อยู่อาศัยใหม่ที่เหมาะสม ซึ่ง
               ปัจจุบันมีอุปสรรคจากการทำการเกษตรที่มีการใช้สารเคมี และการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร ทำให้จุลินทรีย์ดินที่มี
               ประโยชน์ทางการเกษตรหลายชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากแหล่งที่อยู่อาศัยเดิม
                      การศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรจุลินทรีย์ดินที่ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการ
               เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ป่ากับพื้นที่ที่ถูกรบกวนจากการเขตกรรม ในแต่
               ละช่วงเวลาในรอบ 1 ปี ซึ่งสามารถระบุชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ดินชนิดต่าง ๆ ที่อาจพบเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปจากแหล่ง
               อาศัยในระบบนิเวศน์นั้น ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งการดำรงชีวิตของ

               จุลินทรีย์ดินบางชนิดที่สามารถปรับตัว และยังคงกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนเกื้อกูลต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัยนั้น ๆ
               โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ดินที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และนีมาโทดอิสระอีกกลุ่มที่เป็นตัวบ่งชี้
               ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ดินที่แยกได้จากพื้นที่ที่ทำการศึกษาซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดินที่ผ่านการ
               ปรับตัวให้มีชีวิตอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ในการเพิ่ม
               ศักยภาพการผลิตพืชในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลง
               สภาพภูมิอากาศ (Climate change) การกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ บางพื้นที่ฤดูฝนมาเร็ว หรือล่าออกไปเกษตรกร
               ปรับเปลี่ยนแผนการปลูกไม่ทัน อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแปรปรวนมากขึ้น การทดลองนี้มุ่งเน้นเพื่อศึกษา
               กระบวนการในการใช้แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ชุมชนที่ได้รับ
               ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบริเวณลุ่มน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก
               การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเป็นพื้นที่ที่เริ่มมีการบุกรุกป่าเพื่อทำการเขตกรรม นอกจากนี้ยังสามารถนำผล
               การศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการผลิตพืชสำหรับพื้นที่อื่น ๆ ที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่
               เปลี่ยนแปลง เพื่อบรรเทาหรือหยุดยั้งผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อเหตุการณ์

                                                        วิธีดำเนินการ
               อุปกรณ์
                  1. เมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146
                  2. เชื้อแบคทีเรียสกุล Azospirillum brasilense (DASF04003) ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์–วัน
                  3. ปุ๋ยเคมี
                  4. สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงเชื้อ
               วิธีการ

                       ก่อนดำเนินการทดลองได้ทำการเก็บตัวอย่างดินในแปลงทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน
               และแปลงเกษตรกร ณ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ระดับ 0-20 เซนติเมตร เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีบางประการ
               ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (ตารางที่ 1)
               เพื่อคำนวณอัตราปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตร (2552) ทำการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146
               ในแปลงทดลองขนาด 6X5 เมตร ระยะปลูก 75X25 ซม. แปลงละ 8 แถว ๆ ละ 20 หลุม ๆ ละ 1 ต้น และใส่จุลินทรีย์*
               ตามกรรมวิธีพร้อมปลูก 1 ครั้งโดยการคลุกเมล็ด พร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้น และใส่ปุ๋ยแต่งหน้าเมื่ออายุ 30 วัน ทำการเก็บเกี่ยว

                                                          129
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142