Page 139 -
P. 139
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความสูงวันเก็บเกี่ยว
ความสูงของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 ณ วันเก็บเกี่ยว ของทั้งสองแปลงทุกกรรมวิธีมีความแตกต่างอย่างมี
นัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ยความสูงของแปลงทดลองที่ 2 (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน) มีค่าสูงกว่า
แปลงทดลองที่ 1 (แปลงเกษตรกร อำเภอปาย) ดังแสดงในตารางที่ 2 นอกจากนี้ยังพบว่า ในแปลงทดลองที่ 1 กรรมวิธี
ที่ 4 AP1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มีความสูงสูงที่สุด คือ
249.8 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย (control) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 15-5-5 กิโลกรัม N-
P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) และกรรมวิธีที่ 5 AT1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-
K 2O ต่อไร่ ที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มีความสูง 225.4 247.0 และ 246.0 เซนติเมตร ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
ส่วนในแปลงทดลองที่ 2 พบว่า กรรมวิธีที่ 5 AT1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์พันธุ์ NH-146 มีความสูงสูงที่สุด คือ 306.4 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 10-5-5
กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) กรรมวิธีที่ 3 DASF04003 (แบคทีเรียส่งเสริมการ
เจริญเติบโตของพืชชนิดอ้างอิง) ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 4 AP1 ร่วมกับ
ปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มีความสูง 294.4 291.6 และ 304.4
เซนติเมตร ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
ผลผลิตและคุณภาพผลผลิต
- ความยาวฝัก
จากตารางที่ 2 พบว่า ทุกกรรมวิธีที่ใส่แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ
(กรรมวิธีที่ 3, 4 และ 5) ของแปลงทดลองทั้งสองแห่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มีความยาวฝักไม่แตกต่างกันทาง
สถิติ โดยในแปลงที่ 1 แปลงเกษตรกร อำเภอปาย พบว่า กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีใส่ปุ๋ยเคมี 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O
ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) มีความยาวฝักสูงสุด คือ 17.3 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 3
DASF04003 (แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชชนิดอ้างอิง) + ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
และกรรมวิธีที่ 4 AP1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่กรรมวิธีที่ 5 AT1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา
15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ที่มีความยาวฝัก 15.1 16.4 และ 17.1 เซนติเมตร ตามลำดับ (ตารางที่ 2) ส่วน
แปลงทดลองที่ 2 ก็ให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน คือ กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีใส่ปุ๋ยเคมี 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
(อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) มีความยาวฝักสูงสุด คือ 19.4 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 3
DASF04003 (แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชชนิดอ้างอิง) + ปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่
และกรรมวิธีที่ 4 AP1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ กรรมวิธีที่ 5 AT1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา
10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ที่มีความยาวฝัก 18.6 19.0 และ 18.7 เซนติเมตร ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
- น้ำหนักฝักสด
จากตารางที่ 2 พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 ที่ปลูกในแปลงทดลองทั้งสองแปลงทุกกรรมวิธีทดลองมี
น้ำหนักฝักสดไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยในแปลงทดลองที่ 1 กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีใส่ปุ๋ยเคมี 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-
K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) มีน้ำหนักฝักสดสูงสุด คือ 358 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 5 AT1
ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 4 AP1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-
P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ที่มีน้ำหนักฝักสด 318 และ 313 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 2 นอกจากนี้ยังพบว่า
กรรมวิธีที่ 3 DASF04003 (แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชชนิดอ้างอิง) + ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-
K 2O ต่อไร่ มีน้ำหนักฝักสด 270 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งน้อยกว่ากรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย (control) ที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-
146 มีน้ำหนักฝักสด 280 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนผลการทดลองในแปลงที่ 2 ศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน พบว่า ให้ผลเช่นเดียวกับแปลงทดลองที่ 1 คือ กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีใส่ปุ๋ยเคมี 10-5-5
กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ (อัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ NH-146 มีน้ำหนักฝักสดสูงสุด คือ
539 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ กรรมวิธีที่ 3 DASF04003 + ปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ และ
กรรมวิธีที่ 4 AP1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 10-5-5 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ที่มีน้ำหนักฝักสด 537 และ 536 กิโลกรัมต่อ
131