Page 132 -
P. 132

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                       2.5 ประสิทธิภาพการใช้ธาตุโพแทสเซียมของมันสำปะหลัง
                              การประเมินประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียมในปุ๋ย สามารถประเมินได้จาก ประสิทธิภาพการสร้างผลผลิต
               (agronomic efficiency) หรือประสิทธิภาพผลผลิต (yield efficiency) ประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารจากปุ๋ย

               (apparent recovery efficiency) และประสิทธิภาพการสร้างผลผลิตเชิงสรีระ (agrophysiological efficiency)
               (Fageria et al.,1997) พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนเพื่อสร้างผลผลิตสูงสุด
               125.0 กิโลกรัมผลผลิตต่อกิโลกรัม K 2O เมื่อใช้ปุ๋ยโพแทชในอัตรา 4 kg K 2O ต่อไร่ และประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียมจะ
               ลดลงเมื่อใส่ปุ๋ยโพแทชเพิ่มขึ้น (Table 24)
                              สำหรับมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 พบว่า มีประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียมเพื่อสร้างผลผลิตสูงสุด
               127.5 กิโลกรัมผลผลิตต่อกิโลกรัม K 2O เมื่อใช้ปุ๋ยโพแทชในอัตรา 4 kg K 2O ต่อไร่ เช่นเดียวกับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50
               และประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียมจะลดลงเมื่อใส่ปุ๋ยโพแทชเพิ่มขึ้น (Table 24) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันสำปะหลังพันธุ์
               ระยอง 11 มีประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียมสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เล็กน้อย
               Table 24 Potassium use efficiency (NUE) for cassava in Wang Hai soil series at Nakhon Sawan Province

                  Applied K          Yield         N uptake*         AUE*          APUE*            ARE*
                 (kg K 2O /rai)     (kg/rai)         (kg/rai)       (kg/rai)       (kg/rai)          (%)
                 Kasetsart 50
                      0              3,533             5.1
                      4              4,033             6.3           125.0           388            32.3
                      8              4,271             5.2           92.3           3,884            2.4
                     12              4,512             5.5           81.6           2,040            4.0
                     16              4,138             5.4           37.8           1,729            2.2
                  Rayong11
                      0              3,638             5.1
                      4              4,148             6.1           127.5           490            26.0
                      8              4,014             7.1           47.0            189            24.9
                     12              4,095             5.4           38.1           1,474            2.6

                     16              3,910             5.8           17.0            394             4.3
               Note : * Calculated from dry weight
                       AUE, agronomic efficiency = (yield K F – yield K 0)/K f applied
                       APUE, agrophysiological efficiency = (yield K F – yield K 0)/( K uptake K F - K uptake K 0)
                       ARE, apparent nitrogen recovery = ( K uptake K F - K uptake K 0)/ K f applied x 100
                       2.6 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                              การใส่ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลัง โดยพิจารณาว่าจะใช้ปุ๋ยในอัตราใดจึงจะ
               คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยใช้อัตราส่วนระหว่างรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ปุ๋ยต่อ
               รายจ่ายจากการใช้ปุ๋ย หรือค่า Value to Cost Ratio (VCR) หากค่า VCR มากกว่า 2 แสดงว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

               (Pevaiz et al., 2004) จากการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยโพแทชของมันสำปะหลังสายพันธุ์ก้าวหน้าเพื่อผลผลิตและแป้งสูง
               ในกลุ่มดินร่วนปนเหนียว กรรมวิธีที่มีการใส่ปุ๋ยโพแทช อัตรา 8-8-12 กิโลกรัม N-P 2O 5-K 2O ต่อไร่ ร่วมกับการใช้มัน
               สำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุด โดยมีค่า VCR เท่ากับ 2.0 (Table 25)




                                                          124
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137