Page 150 -
P. 150
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 2 ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและผลิต IAA ของเชื้อบริสุทธิ์สกุล Azotobacter ที่แยกได้จากตัวอย่างดิน
ความสามารถในการผลิต IAA
ไอโซเลท ความสามารถในการตรึงไนโตรเจน (µmol C 2H 2/h/tube) (ppm)
AT1 7.952 ± 1.546 108.43
AT2 5.782 ± 1.453 19.48
AT3 5.785 ± 2.715 15.86
AT4 9.136 ± 0.542 39.94
AT6 4.410 ± 0.321 14.02
AT7 4.774 ± 0.614 16.48
AT9 5.861 ± 0.714 14.50
AT10 6.016 ± 1.007 13.50
AT11 3.203 ± 0.595 44.63
AT32 7.533 ± 0.548 25.12
AT35 6.214 ± 0.152 26.70
AT37 6.899 ± 0.167 32.02
AT38 7.778 ± 0.220 27.97
AT39 6.562 ± 0.179 20.00
จากการศึกษาประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจน ด้วยวิธี ARA และการผลิตฮอร์โมน IAA ด้วยวิธีการใช้ Salkowski
reagent ทำให้สามารถคัดเลือกแบคทีเรียทั้งสองสกุลที่มีประสิทธิภาพและเจริญได้ดีในอาหารสังเคราะห์เพื่อนำไปทดสอบ
ความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชทดสอบ โดยการนำแบคทีเรียที่คัดเลือกทั้งหมด 9 ไอโซเลท
ไปทำการศึกษาประสิทธิภาพในการผลิตจิบเบอเรลลินและความสามารถในการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช
เปรียบเทียบกับเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ (DASF04003 DASF04005 และ DASF04141) ผลการ
ทดลองพบว่า เชื้อแบคทีเรียทั้งสองสกุลสามารถผลิตจิบเบอเรลลินอยู่ในช่วง 153.59–595.52 ppm และมีความสามารถ
ในการละลายฟอสเฟตในอาหาร SRSM ได้ทุกไอโซเลทแต่ไม่แสดงความสามรถในการละลายฟอสเฟตในอาหาร
Pikovskaya’s medium (ตารางที่ 3) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Kapagam and Nagalakshmi (2014) ที่รายงานว่า
จุลินทรีย์ดินที่มีความสามารถในการละลายอนินทรีย์ฟอสเฟตมีหลายชนิดทั้งที่เป็นแบคทีเรียและเชื้อรา เช่น
Azospirillum sp. Bacillus sp. Pseudomonas sp. Rhizobium sp. Aspergillus sp. และ Penicillium sp. เป็นต้น
ซึ่งประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตของจุลินทรีย์นั้นมีความแตกต่างกันโดยได้รับอิทธิพลจากชนิดของดินและการเขต
กรรมที่แตกต่างกัน (ธงชัย, 2550) วิธีการที่นิยมใช้ตรวจสอบคุณสมบัติในการสร้างซิเดอโรฟอร์ของเชื้อจุลินทรีย์เบื้องต้น
คือ การทดสอบบนอาหาร CAS ซึ่งสารซิเดอโรฟอร์เป็นสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิธรรมชาติ (secondary metabolite)
มีความจำเพาะต่อเฟอริกไออนผลิตจากแบคทีเรียและรา เป็นตัวช่วยนำเหล็กเข้าสู่เซลล์จุลินทรีย์ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่
มีปริมาณเหล็กจำกัด โดยชนิดของซิเดอโรฟอร์ที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์และความสามารถในการผลิตซิเดอ
โรฟอร์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่อยู่ของจุลินทรีย์ (มานิตา และวสุ, 2557) โดยผลการทดลองในตารางที่ 3 พบว่า
แบคทีเรียทั้งสองสกุลที่แยกได้ทุกไอโซเลทไม่สามารถผลิตสารซิเดอโรฟอร์ ซึ่งแตกต่างกับรายงานของ Kapoor and Kar
(1989) ที่พบว่า เชื้อสกุล Azotobacter สามารถสร้างสารส่งเสริมการเจริญเติบโต วิตามิน สารป้องกันเชื้อรา และสาร
ซิเดอโรฟอร์ได้ เช่นเดียวกับเชื้อมาตรฐานไอโซเลท DASF04141 (Azotobacter vinelandii) ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ
พีจีพีอาร์ที่มีความสามารถในการผลิตสารซิเดอโรฟอร์ (ตารางที่ 3)
142