Page 149 -
P. 149
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนอยู่ในช่วง 3.203–9.136 ไมโครโมลเอทธิลีนต่อชั่วโมงต่อหลอด และผลิตฮอร์โมน IAA
อยู่ในช่วง 15.86–108.43 ppm และจากผลการทดลองข้างต้นชี้ให้เห็นว่า เชื้อสกุล Azotobacter มีความสามารถในการ
ตรึงไนโตรเจนสูงว่าแบคทีเรียสกุล Azospirillum แต่มีความสามารถในการผลิต IAA ได้ต่ำกว่ายกเว้นไอโซเลทที่ 1 ที่มี
ความสามารถในการผลิต IAA สูงถึง 108.43 ppm ซึ่งสอดคล้องกับ Khambalkar and Sridar (2015) ที่รายงานว่า
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมของแบคทีเรียที่สกุลต่างกันทำให้ปริมาณการตรึงไนโตรเจนมากน้อยต่างกันด้วย ส่วนการผลิต
ฮอร์โมน IAA แต่ละไอโซเลทจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมของแบคทีเรียที่นำมาทดสอบ
ซึ่งประกอบด้วยความเป็นกรดเป็นด่างของอาหารเลี้ยงเชื้อและอุณหภูมิ (Mohite, 2013) การดูดของสารละลาย การ
จำกัดของคาร์บอน และปัจจัยทางด้านพันธุกรรมของแบคทีเรียในการผลิตฮอร์โมน IAA แบคทีเรียต่างชนิดกันส่งผลให้การ
ผลิตฮอร์โมน IAA แตกต่างกันด้วย (Spaepen et al., 2007)
ตารางที่ 1 ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและผลิต IAA ของเชื้อบริสุทธิ์สกุล Azospirillum ที่แยกได้จากตัวอย่างดิน
ความสามารถในการผลิต IAA
ไอโซเลท ความสามารถในการตรึงไนโตรเจน (µmol C 2H 2/h/tube) (ppm)
AP1 0.903 ± 0.141 77.21
AP3 0.482 ± 0.253 68.70
AP4 0.640 ± 0.091 62.24
AP5 0.346 ± 0.206 57.63
AP6 0.069 ± 0.025 71.83
AP7 0.096 ± 0.031 87.54
AP8 0.054 ± 0.023 71.78
AP9 0.042 ± 0.031 69.31
AP10 0.071 ± 0.023 74.46
AP11 0.066 ± 0.011 53.95
AP12 0.065 ± 0.015 54.14
AP13 0.049 ± 0.003 48.58
AP14 0.053 ± 0.010 72.03
AP20 0.080 ± 0.020 10.42
AP21 0.700 ± 0.102 15.83
AP26 0.820 ± 0.058 17.84
AP27 0.740 ± 0.017 13.54
AP29 0.712 ± 0.135 19.96
AP31 0.602 ± 0.996 15.48
141