Page 148 -
P. 148
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรรมวิธีที่ 6 แบคทีเรีย Azospirillum (AP4)
กรรมวิธีที่ 7 แบคทีเรีย Azospirillum (AP5)
กรรมวิธีที่ 8 แบคทีเรีย Azospirillum (AP7)
4.2.2 ศึกษาประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระเทียมและข้าว วางแผนการทดลองแบบ CRD
มี 5 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ดังนี้
กรรมวิธีที่ 1 กรรมวิธีควบคุม ไม่ใส่จุลินทรีย์
กรรมวิธีที่ 2 แบคทีเรียที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ Azotobacter vinelandii (DASF04141)
กรรมวิธีที่ 3 แบคทีเรีย Azotobacter (AT1)
กรรมวิธีที่ 4 แบคทีเรีย Azotobacter (AT4)
กรรมวิธีที่ 5 แบคทีเรีย Azotobacter (AT9)
กรรมวิธีที่ 6 แบคทีเรีย Azotobacter (AT10)
ทำการเลี้ยงเชื้อเหลวในอาหารเฉพาะของแต่ละสกุล โดยบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง
หลังจากนั้นหยดเชื้อเหลว 1 มิลลิลิตร ในขวดแก้วที่บรรจุทรายนึ่งฆ่าเชื้อ 300 กรัม ใส่เมล็ดข้าวโพด ข้าว และกระเทียมที่
ผ่านการฆ่าเชื้อผิวภายนอก เก็บไว้ในที่มืดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน หลังจากนั้นเก็บไว้ในห้องที่ควบคุม
แสงและอุณหภูมิ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ทำการถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อขวด เติมสารละลาย N-free medium และรักษา
ความชื้นในทรายด้วยน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ ทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตโดยวัดความสูง และความยาวราก
เวลาและสถานที่
ระยะเวลา ตุลาคม 2560 – กันยายน 2562
สถานที่ทำการทดลอง กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และศูนย์วิจัย
และพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน
5. วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลด้วยวิธีการของ
Duncan’s new multiple range test (DMRT)
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. การคัดแยกแบคทีเรีย และการศึกษาประสิทธิภาพการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชของแบคทีเรียที่แยกได้
แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Promoting Rhizobacteria or PGPR)”
เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินบริเวณรอบรากพืช (rhizosphere) และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ โดย
แบคทีเรียกลุ่มนี้มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช สร้างสารซิเดอโรฟอร์
(siderophores) ซึ่งมีสมบัติเพิ่มการนำธาตุเหล็กเข้าสู่เซลล์พืช โดยการแย่งจับธาตุเหล็กบริเวณรอบรากพืช ทำให้เชื้อรา
สาเหตุโรคพืชไม่สามารถนำธาตุเหล็กไปใช้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างฮอร์โมนพืช (phytohormones) เช่น ฮอร์โมน
กลุ่มออกซิน (auxins) ซึ่งกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ การแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ สร้างเอนไซม์ไคติเนส
(chitinase) และลามินาริเนส (laminarinase) ย่อยเส้นใยเชื้อราโรคพืช สร้างสารปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราสาเหตุโรค
พืชได้ เป็นต้น (หนึ่ง, 2548; ธงชัย, 2550 และ Glick et al., 1999) ซึ่งในแบคทีเรียบางสกุลมีความสามารถหลายอย่าง
รวมกัน แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชมีหลายสกุลด้วยกัน ได้แก่
Azospirillum sp. Azotobacter sp. Beijerinckia sp. และ Gluconacetobacter sp. เป็นต้น ซึ่งในการทดลองนี้
สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์จากดินที่เก็บช่วงเดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2562 ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนอาหาร
วุ้นได้จำนวน 36 ไอโซเลท พร้อมทั้งทำการวัดความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและความสามารถในการผลิต IAA ของ
เชื้อบริสุทธิ์ที่แยกได้ ซึ่งเป็นความสามารถหลักของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ ได้ผลการทดลองดังแสดงในตารางที่ 1–2 โดย
พบว่าแบคทีเรียสกุล Azospirillum (AP) มีประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจนอยู่ในช่วง 0.042–0.903 ไมโครโมลเอทธิลีน
ต่อชั่วโมงต่อหลอด และผลิตฮอร์โมน IAA อยู่ในช่วง 10.42-77.21 ppm ส่วนแบคทีเรียสกุล Azotobacter (AT)
140