Page 99 -
P. 99
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
99
label ฉลาก : รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ยเคมี
labile pool แหล่งธาตุอาหารที่พืชใช้ได้: ปริมาณของธาตุอาหารทั้งหมดในสารละลายดิน และส่วนที่มิได้ถูกตรึง แต่
ยึดอย่างหลวมๆกับอนุภาคดิน จึงแลกเปลี่ยนได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อพืช ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมีธาตุ
อาหารส่วนนี้ปริมาณมาก
land degradation ความเสื่อมของที่ดิน : สภาพที่ดินซึ่งมีการลดลงด้านคุณภาพด้านการใช้ประโยชน์ อันเนื่องจาก
กระบวนการตามธรรมชาติ หรือมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ กลายเป็นพื้นที่ซึ่งใช้ในการผลิตด้านการเกษตร
ไม่ได้ เปรียบเทียบกับ soil degradation
land plaster แลนด์พลาสเตอร์ : ชื่อสามัญของแคลเซียมซัลเฟต ดูคําอธิบายใน gypsum
langbeinite แลงไบไนต์ : แร่โพแทชชนิดหนึ่งซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า sulfate of potash magnesia เป็นเกลือเชิงคู่ ซึ่ง
มีทั้งโพแทสเซียมซัลเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต สูตรเคมีอาจมีสองแบบ คือ K SO .2MgSO และ
2
4
4
K SO .MgSO .6H O แร่ที่จําหน่ายมีแลงไบไนต์ราวร้อยละ 95
2
2
4
4
lateral root รากแขนง : รากที่แตกออกมาจากรากแก้ว เรียก branch root ก็ได้
lawn and garden products ผลิตภัณฑ์สําหรับสนามและสวน : ปุ๋ยประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสําหรับบํารุงสนามหญ้า
สวนไม้ดอกไม้ประดับ ตลอดจนไม้กระถาง อาจเป็นปุ๋ยเม็ดขนาดธรรมดา ปุ๋ยเม็ดโต ปุ๋ยเหลว ผสมกับสารเคมี
ป้องกันกําจัดศัตรูพืช และปุ๋ยละลายช้า
LB urea ยูเรียไบยูเร็ตตํ่า : ยูเรียซึ่งมีไบยูเร็ตตํ่ากว่า 0.25% (LB ย่อมาจาก low biuret)
leached-zone ore สินแร่ในชั้นที่ถูกชะล้าง : หินฟอสเฟตเกรดตํ่าจากเหมือง หินฟอสเฟตแบบนี้มีอะลูมิเนียม
ฟอสเฟตและยูเรเนียมเจือปนอยู่มากกว่าเกณฑ์ปกติ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผลิตปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต แต่พอใช้ได้สําหรับ
การผลิตปุ๋ยเชิงประกอบไนทริกฟอสเฟต
leaching การชะละลาย : การสูญเสียธาตุอาหารและสารอื่นไปกับนํ้าที่ชะผ่านชั้นดิน ออกไปเลยเขตราก ธาตุอาหารที่
สูญเสียไปโดยกระบวนการดังกล่าว ส่วนมากเป็นไอออนในสารละลายดิน สารละลายที่รองรับได้จากการชะละลาย
เรียกว่าของเหลวผลชะละลาย (leachate)
lead ตะกั่ว : ธาตุพิษประเภทโลหะหนัก สัญลักษณ์ธาตุ Pb นํ้าหนักอะตอม 207.2 มีอยู่ในดิน 1-150 มก.Pb/กก.
เฉลี่ย 20 มก.Pb/กก. พบในเมล็ดธัญพืชประมาณ 0.5 มก.Pb/กก.
leaf analysis การวิเคราะห์ใบ : การใช้เทคทางเคมีวิเคราะห์หาความเข้มข้นของธาตุอาหารในเนื้อเยื่อพืชดัชนีหรือใบ
ดัชนีเพื่อประเมินสถานภาพด้านธาตุอาหารของพืช และเป็นแนวทางในการใช้ปุ๋ย
leaf color chart แผ่นเทียบสีใบ : แผ่นสีมาตรฐานซึ่งมีแถบสีเรียงจากสีเขียวอ่อนไปหาสีเขียวเข้ม ซึ่งสีแต่ละแถบ
เทียบได้กับสีใบข้าวที่ขาดไนโตรเจนมาก ปานกลาง น้อยหรือเป็นสีของใบปรกติที่มีไนโตรเจนเพียงพอ ชาวนาใช้
เทียบกับสีของใบข้าวในนา เพื่อประเมินว่าขณะนั้นข้าวมีไนโตรเจนเพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอก็ตัดสินใจใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจนเพิ่มเติมอย่างทันท่วงที