Page 95 -
P. 95
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
95
+
ion ไอออน: อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุ ไอออนมีประจุบวกเรียกแคตไอออน (cation) เช่น K (โพแทสเซียม
ไอออน) ส่วนไอออนมีประจุลบเรียกแอนไอออน (anion) เช่น SO (ซัลเฟตไอออน)
2-
4
ion transport การขนส่งไอออน: การเคลื่อนย้ายไอออนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์หรือเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ โดยใช้โปรตีน
ขนส่ง (transport protein) การขนส่งมี 2 แบบ คือ active transport และ passive transport ดูรายละเอียด
ของสองคํานี้
ionophore ไอโอโนฟอร์ : โมเลกุลที่ช่วยให้ไอออนผ่านเยื่อ มี 2 ชนิด คือ แคร์ริเออร์ (carriers)
และช่องผ่าน (channels) ดังนี้ (1) แคร์ริเออร์ เช่น valinomycin จัดโครงรูปของโมเลกุลให้ทํา
หน้าที่แคริเออร์ จับกับไอออนบางชนิดได้อย่างเหมาะสม แล้วแพร่ผ่านเยื่อได้ และ (2) ช่องผ่าน
เช่น gramicidin จัดโครงรูปเป็นช่องผ่านที่ลอดผ่านเยื่อโดยตลอด ไอออนจึงแพร่ผ่านช่อง
ดังกล่าวได้รวดเร็ว
IPM : อักษรย่อของ integrated pest management (การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน)
IPNI: อักษรย่อของ International Plant Nutrition Institute (สถาบันธาตุอาหารพืชระหว่างประเทศ) เป็นสถาบัน
ทางวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตปุ๋ย ให้ทําหน้าที่ส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการธาตุอาหารพืช เพื่อความ
มั่นคงด้านอาหารของมนุษยชาติ ตั้งอยู่ที่มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
IPNS : อักษรย่อของ integrated plant nutrition system (ระบบจัดการธาตุอาหารพืชแบบผสมผสาน)
iron เหล็ก : ธาตุอาหารประเภทจุลธาตุ สัญลักษณ์ธาตุ Fe (ferrum, L: เหล็ก) หมายเลขอะตอม 26 นํ้าหนักอะตอม
55.8 ความถ่วงจําเพาะ 7.87 เซลล์พืชดูดในรูปเฟอร์รัสไอออน (Fe ) เป็นส่วนใหญ่ มีความเข้มข้นในพืชประมาณ
2+
100 มก.Fe/กก. ราว 70% ของธาตุนี้อยู่ในคลอโพลาสต์ เหล็กเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ไนโตรจีเนสและเล็ก
ฮีโมโกลบิน จึงมีบทบาทสําคัญในกระบวนการตรึงไนโตรเจน และการทํางานของปมรากถั่ว บทบาทที่สําคัญด้านอื่น
ได้แก่ การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ คาร์โบไฮเดรต การหายใจ การใช้ประโยชน์ไนโตรเจน การสังเคราะห์ฮอร์โมนพืช
3 ชนิด (จิบเบอเรลลิน เอทิลีน และ กรดจาสโมนิก) การรีดิวซ์ไนเทรตและซัลเฟต ระดับวิกฤติของเหล็กในพืช 50
มก.Fe/กก. (พิสัย 25-80 มก.Fe/กก.) เนื่องจากเหล็กเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้น้อย (immobile
element) อาการขาดธาตุนี้จึงปรากฏที่ใบอ่อน โดยมีอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (inter-veinal chlorosis) หากมี
ในพืช 300-1000 มก.Fe/กก.จะเป็นพิษ ส่วนระดับวิกฤติในดิน คือ ความเข้มข้นของเหล็กที่สกัดได้ด้วย DTPA
2.5-4.5 มก.Fe/กก. หรือที่สกัดได้ด้วยแอมโมเนียมแอซิเทต 2 มก.Fe/กก.
Iron-molybdenum cofactor เหล็ก-โมลิบดีนัม โคแฟกเตอร์ : โปรตีนซึ่งมีเหล็กและโมลิบดีนัมเป็นองค์ประกอบ
ทําหน้าที่กระตุ้นกิจกรรมการตรึงไนโตรเจนของเอนไซม์ไนโทรจีเนส (nitrogenase)
iron fertilizer ปุ๋ยเหล็ก : สารประกอบซึ่งมีเหล็กรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สารที่ใช้เป็นปุ๋ยได้แก่ เฟอร์รัสซัลเฟต
(FeSO .7H O) และเฟอร์รัสแอมโมเนียมซัลเฟต [(NH ) SO .FeSO .6H O] ส่วนปุ๋ยคีเลตได้แก่ Fe-EDTA และ
4
4
2
2
4
4 2
Fe polyflavonoides
iron oxidizing bacteria แบคทีเรียออกซิไดส์เหล็ก : แบคทีเรียซึ่งได้รับพลังงานจากการออกซิไดส์เฟอร์รัสไอออน
3+
(Fe ) เป็น เฟอร์ริกไอออน (Fe ) เช่น Thiobacillus ferroxidans
2+