Page 90 -
P. 90
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
90
hydrogen sulfide ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H S) หรือแก๊สไข่เน่า : แก๊สซึ่งมีกํามะถันและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ
2
พบอยู่ใน sour natural gas หรือในนํ้ามันดิบ จึงทําให้สารทั้งสองนั้นมีกลิ่นเฉพาะตัวของแก๊สไข่เน่า เมื่อนํามาเข้า
กระบวนการ desulfurization จะได้กํามะถัน ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดซัลฟิวริก
hydrolysis การแยกสลายด้วยนํ้า : ปฏิกิริยาแยกสารโมเลกุลใหญ่หนึ่งโมเลกุล เป็นสารโมเลกุลเล็กสองโมเลกุล
+
ขณะเดียวกันก็แยกโมเลกุลนํ้าเป็น H และ OH แล้วไอออนแต่ตัวก็ไปรวมกับโมเลกุลของสารใหม่ที่ได้ เช่น
-
ปฏิกิริยาแยกสลายดัวยนํ้าของยูเรีย โดยกิจกรรมของเอนไซม์ยูรีเอส ได้แอมโมเนียและคาร์บอนไดออกไซด์ (hydr-
, hydro-,G: นํ้า ; lysis-, G: แยกกันหรือแตก)
hydrophilic group หมู่ชอบนํ้า : หมู่มีขั้วหรือหมู่ซึ่งเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ เช่น –OH, -COOH, -NH โมเลกุลที่มี
2
หมู่นี้จะเปียกนํ้า ถ้าเป็นแมโครโมเลกุลก็จะหันหมู่นี้เข้าหานํ้า
hydrophobic -ไม่ชอบนํ้า : สภาพไม่มีขั้ว จึงมีแนวโน้มที่กลุ่มของอะตอมหรือพื้นผิวของสารจะไม่เกาะกับนํ้าหรือไม่
เปียกนํ้า
hydrophyte พืชนํ้า : พืชซึ่งเติบโตอยู่ในนํ้าหรือที่ชื้นแฉะมาก เช่น แหนแดงและผักตบชวา
hydroponics ไฮโดรพอนิกส์: การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร หรือในวัสดุอื่น เช่น กรวด หรือทราย แล้วรด
ด้วยสารละลายธาตุอาหารซึ่งเตรียมขึ้นให้มีความเข้มข้น และสัดส่วนของธาตุต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับการเติบโต
ของพืช การปลูกพืชด้วยนํ้ายาเป็นระบบการปลูกพืชซึ่งให้ธาตุอาหารในรูปที่ละลายนํ้าสัมผัสกับระบบรากโดยตรง
ใช้วัสดุเฉื่อยเป็นสิ่งคํ้าจุนระบบรากโดยวัสดุนั้นมิได้เป็นแหล่งธาตุอาหาร (hydro, G :นํ้า ; ponos, G : กรรมกร)
hydroseeding การหว่านเมล็ดพร้อมของเหลว : การหว่านเมล็ดในแปลง โดยวิธีพ่นของเหลวที่เมล็ดแขวนลอยอยู่
และมีปุ๋ยที่ละลายง่ายอยู่ด้วย
hydrotropism การเบนตอบสนองความชื้น : การเติบโตของพืชเข้าหานํ้าหรือเบนจากนํ้า
hygroscopic substance สารดูดความชื้น : สารที่มีสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่าย เช่น CaCl และ ZnCl
2
2
hygroscopicity สภาพดูดความชื้น : สมบัติของสารที่แสดงถึงแนวโน้มในการดูดความชื้นจากอากาศ สารที่มีค่า
ความชื้นสัมพัทธ์วิกฤติตํ่า จะดูดความชื้นได้ง่าย ดูความหมายของ critical relative humidity
hygroscopic point จุดไฮโกรสโคปิก หรือ จุดดูดความชื้น : ค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ซึ่งเกลือเริ่มดูด
ความชื้นจากอากาศ เพราะขณะนั้นความชื้นในอากาศมีค่าสูงกว่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤติของสารดังกล่าว
hypertonic solution สารละลายไฮเพอร์ทอนิก : สารละลายภายนอกที่มีความเข้มข้นออสโมซิสสูงกว่าของเหลวใน
เซลล์ (hyper, G: สูงกว่า) ทําให้นํ้าในเซลล์เคลื่อนที่ออกจากเซลล์จนเซลล์แฟบหรือพลาสมอลิซิส (plasmolysis)
hypocotyl ต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง คอราก : ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยงและเหนือรากแรกเกิด
hypogean อยู่ใต้ดิน : การงอกของเมล็ดที่ใบเลี้ยงยังคงอยู่กับเมล็ดที่ใต้ผิวดิน
hypotonic solution สารละลายไฮโพทอนิก : สารละลายภายนอกที่มีความเข้มข้นออสโมซิสตํ่ากว่าของเหลวใน
เซลล์ ทําให้นํ้าจากนอกเซลล์เคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์จนเซลล์เต่ง (hypo, G : ตํ่ากว่า)
HYV : อักษรย่อของ high yielding variety (พันธุ์ผลผลิตสูง)
………………………………………….