Page 89 -
P. 89

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               89





                    hormone, plant ฮอร์โมนพืช : สารอินทรีย์ที่เนื้อเยื่อกําลังเติบโตรวดเร็วได้สังเคราะห์ขึ้น สารนั้นมีผลต่อการเติบโต
                      ของเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นเอง หรือเคลื่อนย้ายไปมีผลต่อการเติบโตของเนื้อเยื่ออื่น ด้วยปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ช่วย

                      กระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการทางสรีระของพืชอย่างมาก ธาตุอาหารที่มีบทบาทในการสังเคราะห์และควบคุมการ

                      ทํางานของฮอร์โมนได้แก่ ไนโตรเจน เหล็ก แมงกานีส สังกะสีและแคลเซียม (hormone, G : กวน กระพือ หรือก่อ
                      ความตื่นเต้น)

                    horizontal axis rotary mixer ถังผสมแกนนอน : ถังผสมซึ่งแกนอยู่ในแนวนอน  ใช้ผสมปุ๋ยแบบคลุกเคล้า  โดย
                      ใส่แม่ปุ๋ยทางด้านหนึ่งแล้วถ่ายปุ๋ยผสมออกอีกด้านหนึ่ง

                    horticulture วิทยาการพืชสวน: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อการผลิตพืชสวน (พืชผัก ไม้ผล และไม้ดอกไม้

                      ประดับ) ประกอบด้วยสาขาวิชาการต่างๆ เช่น พันธุศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์พืช สรีรวิทยา การควบคุมวัชพืช
                      นิเวศวิทยา อุตุนิยมวิทยา การจัดการดินและนํ้า ฯลฯ  (hortus, L: สวน (garden); cultura, L: การเพาะปลูก

                      (cultivation)
                    humic acid กรดฮิวมิก : สารอินทรีย์สีเข้มอยู่ในอินทรียวัตถุของดิน เมื่อสกัดดินด้วยด่างเจือจางแล้วปรับให้สิ่งที่

                      สกัดได้เป็นกรดจัด จะได้ตะกอนของกรดฮิวมิก เมื่อใช้ในความเข้มข้นตํ่าช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

                      เปรียบเทียบความหมายกับ fulvic acid
                    humic substances สารฮิวมิก : กลุ่มของสารเชิงซ้อน เป็นส่วนประกอบของอินทรียวัตถุในดิน 60-80% มีสีนํ้าตาล

                      ถึงดํา นํ้าหนักโมเลกุลสูง และค่อนข้างทนทานต่อการสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ กรดฮิวมิกและกรดฟุลวิก

                      เป็นส่วนหนึ่งของสารฮิวมิก
                    humification การเกิดฮิวมัส  : กระบวนการชีวเคมีในดินอันสลับซับซ้อนที่ทําให้เกิดฮิวมัส ประกอบด้วยการ

                      สลายตัวของสารอินทรีย์และสังเคราะห์สารอินทรีย์บางชนิดขึ้นใหม่ ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน ปัจจัยที่ควบคุม
                      กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินและเกี่ยวข้องกับการเกิดฮิวมัส ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ การถ่ายเทอากาศ และแหล่ง

                      พลังงานชีวภาพในดิน

                    humus  ฮิวมัส : สารอินทรีย์สีเข้ม โครงสร้างสลับซับซ้อนและสลายตัวยาก จึงเป็นส่วนที่เหลือภายหลังจากที่เศษซาก
                      พืชและสัตว์ส่วนมากได้สลายตัวไปแล้ว เป็นส่วนประกอบที่คงทนของอินทรียวัตถุในดิน (soil organic matter)

                    humin ฮิวมิน : องค์ประกอบส่วนหนึ่งของอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งไม่อาจสกัดออกมาจากดินได้ด้วยด่างเจือจาง
                    hydrated lime; slaked lime แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือปูนขาว  : ปูนซึ่งมี Ca(OH) เป็นองค์ประกอบหลัก อาจ
                                                                                       2
                      มีแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์เป็นองค์ประกอบด้วย  ผลิตได้จากการเผาหินปูนแล้วพรมนํ้าลงไป  (slake = เจือด้วย

                      นํ้า)
                                  +
                    hydrogen ion (H ) concentration ความเข้มข้นไฮโดรเจน : ความเข้มข้นของ H  ในสารละลายดิน ใช้ในการ
                                                                                    +
                                                                      +
                                                                           -5
                      คํานวณ pH ด้วยสูตร pH = -log [H ] หากสารละลายดินมี [H ]  10  โมลาร์ pH ของดินจะเท่ากับ 5 หากใช้
                                                  +
                                                                              -5
                      pH meter วัด pH ของดินได้ 5 ก็แสดงว่า [H ] ในสารละลายดินมีค่า 10  โมลาร์
                                                         +
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94