Page 86 -
P. 86
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
86
H
H : สัญลักษณ์ของธาตุไฮโดรเจน (hydrogen) ซึ่งเป็นธาตุอาหารพวกมหธาตุที่พืชได้รับจากนํ้า
habitat ถิ่นที่อยู่ : สถานที่ซึ่งเหมาะแก่การอยู่และเติบโตของพืช เช่น มอสส์ชอบที่ร่มและชื้น ส่วนทานตะวันชอบที่มี
แสงจ้าและไม่ชื้นแฉะ
haem ฮีม : วงแหวนเททราไพโรล (tetrapyrol ring) มีเหล็กหนึ่งอะตอมอยู่ตรงกลาง โดยอะตอมของเหล็กมีพันธะ
เคมีอยู่กับไนโตเจน 4 อะตอม ซึ่งมาจากวงแหวนไพโรลทั้ง 4 ด้าน ตําราในประเทศอังกฤษสะกดว่า haem ส่วนใน
สหรัฐอเมริกาเขียนว่า heme (hema-, hemato-,hemo-, G: เลือด)
haem enzyme ฮีมเอนไซม์: เอนไซม์ที่มีฮีมเป็นองค์ประกอบ (มีเหล็กในโครงสร้าง) เช่น คาทาเลส (catalase) เพอร์
ออกซิเดส (peroxidase) และไซโทโครม ซี ออกซิเดส (cytochrome C oxidase)
haem protein ฮีมโปรตีน : โปรตีนที่มีฮีมเป็นองค์ประกอบ (มีเหล็กในโครงสร้าง) เช่น (1) ไซโทโครมซึ่งมีบทบาทใน
การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน ในกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ และ (2) เล็กฮีโมโกลบิน ทําหน้าที่ควบคุม
ให้ออกซิเจนในปมรากถูกนําไปใช้ในการหายใจ แต่ไม่กระจายไปยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไนโตรจีเนสซึ่งเป็น
เอนไซม์สําหรับการตรึงไนโตรเจน
half-life ครึ่งชีวิต : เวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ครึ่งหนึ่งของตัวอย่างไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีสลายหรือเสื่อมลง
halophyte พืชดินเค็ม : พืชที่ทนเกลือและเติบโตได้ในดินเค็มจัด พืชในกลุ่มนี้เซลล์สามารถทนได้แม้จะสะสมเกลือ
ไว้ในความเข้มข้นสูง และใช้เกลือเป็นตัวละลายในการปรับออสโมซิสของเซลล์ ขณะเดียวกันก็มีกลไกการขับเกลือ
ออกทางใบและอวัยวะอื่นๆ เพื่อให้มีในระดับที่ทนได้(halo-,L: เกลือ)
handling การประกอบภารกิจ: กิจกรรมเกี่ยวกับปุ๋ยหลังจากการผลิต เช่น การขนส่ง การเคลื่อนย้าย การเก็บรักษา
การตลาดและการใช้ หรือการหว่านปุ๋ยลงในพื้นที่ ซึ่งต้องใช้บุคลากรดําเนินการ
haploid แฮพลอยด์ : เซลล์ที่มีโครโมโซมหนึ่งชุด (haplous, G: เดี่ยวหรือโสด)
Harber-Bosch Process กระบวนการฮาร์เบอร์-บอสช์: กระบวนการผลิตแอมโมเนียซึ่ง Fritz Haber และ Carl
Bosch พัฒนาขึ้น โดยส่งแก๊สผสมระหว่างไนโตรเจนและไฮโดรเจนอัตราส่วน 1:3 เข้าสู่ถังปฏิกรณ์สังเคราะห์
แอมโมเนีย มีเหล็กออกไซด์และออกไซด์อื่นๆเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ได้แอมโมเนีย
hard pan ชั้นดินดาน : ชั้นดินแน่นทึบเมื่อแห้งจะแข็ง เกิดจากการอัดตัวของดินหรือมีสารเชื่อมให้อนุภาคในชั้นดิน
เกาะตัวกันแน่น ดินดานอาจเป็นดินเนื้อหยาบ หรือละเอียดแล้วมีสารเชื่อม ได้แก่ เหล็กออกไซด์ ซิลิกา แคลเซียม
คาร์บอเนต หรือสารอื่น ๆ เชื่อมเข้าด้วยกัน
hardsalt (hartsalz) เกลือแข็ง : เกลือพวก kainite หรือ sylvinite มีโพแทชอยู่ 15.8%K O
2
harvest index ดัชนีการเก็บเกี่ยว : อัตราส่วนระหว่างนํ้าหนักผลผลิตเชิงเศรษฐกิจ เช่น เมล็ด กับผลผลิตชีวภาพ
ได้แก่ ผลรวมของเมล็ด ใบและต้น