Page 94 -
P. 94

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               94





                    integrated pest management (IPM) การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน : ระบบที่ใช้วิธีการต่างๆร่วมกันอย่าง
                      เหมาะสมเพื่อจัดการศัตรูพืช ได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ทนต่อศัตรูพืช ปรับปรุงวิธีการดูแลแปลงพืช กําจัดพืชอาศัยของ

                      ศัตรูพืชและส่วนของพืชที่ศัตรูพืชทําลาย โดยหลายวิธีการประกอบกัน เช่น (1) ใช้สารสกัดจากสมุนไพรควบคุม

                      ศัตรูพืช (2) ควบคุมด้วยชีววิธี เช่น ใช้ศัตรูตามธรรมชาติ ยาเชื้อ ฟีโรโมน เชื้อไตรโคเดอร์มา และ (3) ถ้าจําเป็นก็ใช้
                      สารเคมี

                    integrated plant nutrition system (IPNS) ระบบจัดการธาตุอาหารพืชแบบผสมผสาน : ระบบที่มีความมุ่ง
                      หมายในการบํารุงรักษาหรือปรับปรุงผลิตภาพดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ให้สามารถสนองธาตุอาหารพืช

                      ต่างๆอย่างเหมาะสม ได้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตพืชในระดับที่ต้องการอย่างยั่งยืน ได้รับผลตอบแทนเชิง

                      เศรษฐกิจเหมาะสม มีการใช้แหล่งธาตุอาหารจากหลายแหล่งแบบผสมผสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งธาตุอาหารที่
                      จัดหาได้ในท้องถิ่น และด้วยระบบการใช้ที่คํานึงถึงการรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม

                    integrated weed management (IWM) การจัดการวัชพืชแบบผสมผสาน :  ระบบที่ใช้วิธีการต่างๆร่วมกันอย่าง
                      เหมาะสมในการลดประชากรวัชพืช และคงมีวัชพืชบ้างแต่ต้องตํ่ากว่าระดับที่จะทําให้ผลผลิตลดลง กิจกรรมที่ใช้ใน

                      ระบบนี้ได้แก่ ถอนทิ้ง ใช้สารเคมี และการควบคุมวัชพืชด้วยชีววิธี

                    intensity factor ปัจจัยด้านความเข้มข้น : ความเข้มข้นของธาตุอาหารรูปไอออนในสารละลายดินและที่แลกเปลี่ยน
                      ได้ เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงปริมาณของธาตุอาหารในดินที่พืชใช้ได้ทันที เมื่อรวมเข้ากับการปลดปล่อยจากปัจจัยด้านความจุ

                      จะได้ปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง (ดู capacity factor ประกอบ)

                    intensive cropping system ระบบการปลูกพืชเข้มข้น : ระบบการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตพืชอย่างต่อเนื่องตลอดปี
                      ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างโดยไม่ปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่งเลย อาจปลูกพืชปีละสองครั้งหรือมากกว่าสองครั้งต่อเนื่องกัน

                      เป็นลําดับ (sequence cropping) ปลูกร่วมกัน (inter/mixed cropping) หรือใช้ทั้งสองแบบก็ได้ เช่น ระบบข้าว
                      ตามด้วยถั่วเขียว หรือ ระบบกาแฟ-สับปะรด-พริก-ผัก การมีถึง 4 พืชในพื้นที่เดียวกัน เรียกว่าระบบปลูกแบบซ้อน

                      หลายชั้น (multi-storey cropping system หรือ multi-storied cropping system)

                    interaction อันตรกิริยา : ผลร่วมของสองปัจจัย หรือมากกว่าสองปัจจัย (ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส, ไนโตรเจน-
                      ฟอสฟอรัส-การให้นํ้า, ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-พันธุ์พืช) ซึ่งกระทําต่อกัน แล้วแสดงผลออกมาในด้านความเป็น

                      ประโยชน์ของปัจจัยต่อพืช หรือต่อการเติบโตของพืช อันตรกิริยามี 3 แบบ คือ เสริมกัน (synergistic) ต้านกัน
                      หรือเป็นปฏิปักษ์กัน (antagonistic) และไม่มีอันตรกิริยาหรือได้ผลรวม (additive)



                    intercropping การปลูกพืชร่วมกัน : การปลูกพืชสองหรือมากกว่าสองชนิดในพื้นที่เดียวกัน แบบเหลื่อมเวลา
                      บางส่วน (relay-intercropping) เช่น หนึ่งเดือนก่อนเก็บเกี่ยวพืชชนิดแรกก็ปลูกพืชชนิดที่สองแทรกลงไประหว่าง

                      แถว หรือระบบปลูกในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน (simultaneous system) โดยปลูกสลับแถวหรือสลับแถบโดยไม่มี

                      ผลเสียอันเกิดจากการบังแสง แย่งนํ้าและธาตุอาหาร แต่เกิดผลดีเป็นพิเศษในบางเรื่อง เช่น ลดการระบาดของ
                      ศัตรูพืช หรือการเพิ่มไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่ว

                    intermediate  สารมัธยันตร์ : สารที่เกิดขึ้นในขั้นตอนระหว่างสารตั้งต้นกับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย  ดูคําอธิบายใน
                      fertilizer intermediate
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99