Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
59
cuticular resistance ความต้านทานของคิวติเคิล : สมบัติของคิวติเคิลที่หน่วงการแพร่ของสาร
การมีคิวติเคิลปกคลุมอวัยวะ ทําให้อัตราการแพร่ของแก๊ส เช่น ไอนํ้า คาร์บอนไดออกไซด์และ
ออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อพืชลดลง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานต่อการแพร่ของสารขึ้นอยู่
กับองค์ประกอบทางเคมี ความหนาและความพรุน
cuticular transpiration การคายนํ้าผ่านคิวติเคิล: การคายนํ้าของพืชรูปไอนํ้าที่ออกจากเซลล์ใบ
ผ่านคิวติเคิลสู่อากาศ
cultivation การเพาะปลูก : กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวกับการผลิตพืช เช่น การเตรียมดิน การปลูกพืชและดูแลให้
เจริญเติบโต ในส่วนของการจัดการดินมีความหมาย 2 อย่าง คือ (1) การเตรียมดิน โดยการไถ พรวนและใส่ปุ๋ย
เพื่อให้ดินเหมาะสําหรับพืชแต่ละชนิด และ (2) การบํารุงให้พืชเจริญเติบโตโดยใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ
cultivation index: อัตราส่วนระหว่างปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินที่ใช้เพาะปลูกในขณะนั้น กับที่มีในดินเดียวกัน
ในสมัยก่อนที่จะใช้เพาะปลูก ค่านี้บ่งชี้ถึงผลกระทบของการเพาะปลูกในช่วงเวลาหนึ่ง (ระบุจํานวนปี) ต่อปริมาณ
อินทรียวัตถุในดิน
cumulative percent เปอร์เซ็นต์สะสม : ผลการวิเคราะห์การกระจายของขนาดอนุภาคโดยใช้ตะแกรงมาตรฐาน
แสดงร้อยละของนํ้าหนักตัวอย่างขนาดต่าง ๆ ซึ่งมีขนาดโตกว่ารูตะแกรงนั้น เป็นการรวมนํ้าหนักของอนุภาคที่ค้าง
บนตะแกรงดังกล่าวกับบนตะแกรงทุกอันที่หยาบกว่าซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป
current agriculture เกษตรกรรมปัจจุบัน : การเกษตรที่ยึดถือหลักการทางวิทยาศาสตร์ ดําเนินการเหมาะสมกับ
สภาพพื้นที่ มีการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ในลักษณะผสมผสาน รวมทั้งจัดการศัตรูพืชหลายวิธีร่วมกัน
แล้วปรับเข้าสู่แนวทางปฏิบัติจัดการที่ดี ความหมายเหมือนกับ conventional agriculture
curing of fertilizers การบ่มปุ๋ย : การเก็บปุ๋ยเคมีซึ่งผลิตได้ใหม่ ๆ ไว้เป็นกองระยะหนึ่ง ก่อนดําเนินการขั้นต่อไป
เช่น การบ่มปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟตแบบผงที่ผลิตโดยวิธี cone mixing ไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้ปฏิกิริยาสมบูรณ์
cuticle คิวติเคิล: ชั้นของสารที่ปกคลุมผิวใบ สารหลักคือคิวทินซึ่งประกอบด้วยไขและสารพวกไขมัน ทําหน้าที่ลดการ
คายนํ้าของพื้นผิวใบ สารละลายปุ๋ยที่ฉีดพ่นทางใบ ในขั้นแรกปุ๋ยจะต้องแพร่ผ่านคิวติเคิล แล้วจึงเข้าไปยังผนังเซลล์
ของใบ และถูกดูดผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ตามลําดับ
cyanobacteria ไซยาโนแบคทีเรีย : ชื่อหนึ่งของสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน เป็นสิ่งมีชีวิตพวก procaryote
(prokaryote) เหมือนแบคทีเรีย เซลล์มีไฟโคไซยานินซึ่งเป็นสารสีนํ้าเงิน (phyco, L:เกี่ยวกับสาหร่าย; cyano, L:
สีนํ้าเงิน) และคลอโรฟิลล์ซึ่งมีสีเขียว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก blue green algae
cysteine ซีสเทอีน: กรดอะมิโนที่มีกํามะถันเป็นองค์ประกอบ
cytochrome ไซโทโครม: ฮีมโปรตีน (haem protein-เหล็กอยู่ในโครงสร้าง) ชนิดหนึ่งมีบทบาทในโซ่การเคลื่อนย้าย
อิเล็กตรอน (electron transport chain) ของคลอโรพลาสต์สําหรับกระบวนการสังเคราะห์แสง และของไมโทคอน
เดรียสําหรับกระบวนการหายใจ
cytology เซลล์วิทยา: การศึกษาด้านโครงสร้าง หน้าที่ของแต่ละส่วนของเซลล์และการแบ่งเซลล์ (kytos, L: เซลล์;
logia, L: การศึกษา)