Page 55 -
P. 55

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               55





                    cortex คอร์เทกซ์ : เนื้อเยื่อของรากอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นผิวกับเนื้อเยื่อส่วนท่อลําเลียง
                    cotransport การขนส่งร่วมทาง : กลไกการขนส่งสารสองชนิดโดยใช้พาหะขนส่งร่วมทาง ทําให้สารทั้งสองชนิด

                      เคลื่อนที่ผ่านเยื่อไปในทิศทางเดียวกัน มีความหมายเหมือนกับ symport

                    cotransporter พาหะขนส่งร่วมทาง : โปรตีนพาหะทําหน้าที่ขนส่งสารสองชนิด โดยทําให้สารทั้งสองชนิดเคลื่อนที่
                      ผ่านเยื่อไปในทิศทางเดียวกัน มีความหมายเหมือนกับ symporter

                    cotyledon ใบเลี้ยง: ใบแรกใบเดียวของพืชใบเลี้ยงเดียว หรือใบแรกสองใบของพืชใบเลี้ยงคู่ ที่ออกมาจากเอ็มบริโอ
                      ของเมล็ดที่กําลังงอก ทําหน้าที่จ่ายอาหารให้ต้นอ่อนที่กําลังเจริญเติบโต

                    coulter injection การอัดปุ๋ยเหลว  : การใส่ปุ๋ยเหลวในดิน เริ่มจากใช้ใบมีดของแทรกเตอร์ตัดดินแหวกนําให้เกิด

                      ร่องแคบ ๆ แล้วอัดปุ๋ยเหลวลงไป  ปุ๋ยกระจายเป็นแถบในร่องตามความลึกของรอยตัด
                    C:P ratio อัตราส่วนคาร์บอน: ฟอสฟอรัส : อัตราส่วนระหว่างสารอินทรีย์คาร์บอนและฟอสฟอรัสทั้งหมดใน

                      สารอินทรีย์ เป็นดัชนีอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ศักยภาพการปลดปล่อยฟอสฟอรัสจากซากพืชที่ใส่ในดิน หากซากพืชมี
                      อัตราส่วน C:P ตํ่ากว่า 200 คาดว่าจะมีมินเนอราลไลเซชันสุทธิของฟอสฟอรัส แต่ถ้ามีอัตราส่วน C:P สูงกว่า 300

                      คาดว่าจะมีอิมโมบิไลเซชันสุทธิของฟอสฟอรัส ดู mineralization และimmobilization ประกอบ

                    crista ครีสตา :เยื่อชั้นในของไมโทคอนเดรียซึ่งพับไปมาเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว เป็นบริเวณที่มีโซ่การ
                       ขนส่งอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสฟอริเลชันเพื่อผลิต ATP ให้แก่เซลล์ ธาตุฟอสฟอรัส

                        มีบทบาทสําคัญในส่วนนี้ (พหูพจน์ cristae)

                    criteria of essentiality บรรทัดฐานความเป็นธาตุอาหาร : เกณฑ์ที่ใช้สร้างกลุ่ม “ธาตุอาหารพืช” มี 3 ข้อ คือ (1)
                      พืชต้องการธาตุนั้นเพื่อดํารงชีพจนตลอดวงจรชีวิต (2) หากขาดแคลนธาตุนั้นถึงระดับหนึ่ง พืชจะแสดงอาการ

                      ผิดปรกติอันเป็นลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจแก้ไขอาการดังกล่าวได้ด้วยการให้ปุ๋ยที่มีธาตุนั้น และ (3) ธาตุนั้นมีบทบาท
                      โดยตรงต่อเมแทบอลิซึมของพืช ดู deficiency ประกอบ

                    critical deficiency level ระดับวิกฤติขาดแคลน : ดูคําอธิบายใน critical level เปรียบเทียบความหมายกับ

                      critical toxic level
                    critical level, plant ระดับวิกฤติในพืช: ระดับหรือความเข้มข้นของธาตุอาหารในพืชช่วงเปลี่ยนสภาพ (transition

                      zone) เป็นความเข้มข้นของธาตุอาหารในพืชซึ่งให้การเจริญเติบโตสัมพัทธ์ (relative growth) 90% (หรือ 90%
                      ของการเจริญเติบโตสูงสุด) เรียกว่าระดับวิกฤติขาดแคลน (critical deficiency level) ก็ได้ ยกตัวอย่างกรณีของ

                      โบรอน ซึ่งระดับวิกฤตในพืช 20 มกB/กก.

                    critical level, soil ระดับวิกฤติในดิน: ระดับของธาตุอาหารในดินรูปที่เป็นประโยชน์ ซึ่งให้การเจริญเติบโตสัมพัทธ์
                      ของพืช 90% ยกตัวอย่าง ระดับวิกฤติในดินของโบรอนที่สกัดได้ด้วยนํ้าร้อน (hot-water soluble B) 0.5 มก.B/

                      กก.

                    critical concentration ความเข้มข้นวิกฤติ: มีความหมายเหมือน critical level (ระดับวิกฤติ)
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60