Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
51
co-chemigation การใส่สารเคมีมีหลายชนิดในระบบชลประทาน : การให้สารเคมีแก่พืชพร้อม ๆ กัน โดยใส่สาร
เหล่านั้นลงในนํ้าชลประทาน
codes of practice หลักเกณฑ์การปฏิบัติ : ดูคําอธิบายใน consensus standard
coenzyme โคเอนไซม์ : โมเลกุลของสารที่รวมกับอะโพเอนไซม์ได้โฮโลเอนไซม์ ซึ่งทําหน้าที่เอนไซม์ได้สมบูรณ์
ลักษณะเป็นสารอินทรีย์โมเลกุลเล็กมีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น NAD , NADP และ
+
+
coenzyme A
coenzyme A โคเอนไซม์ เอ: สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยแอดีโนซีนไดฟอสเฟตเชื่อมต่อกับกรดแพนโททินิก ซึ่งเป็น
วิตามินบีชนิดหนึ่งในรูปแพนทีทีนฟอสเฟต (pantheteine phosphate) จําเป็นในเมแทบอลิซึมของกรดไขมัน
cofactor โคแฟกเตอร์: ส่วนที่เป็นสารอนินทรีย์ซึ่งประกอบเข้ากับเอนไซม์ แล้วช่วยให้เอนไซม์มีกิจกรรมได้ ส่วนมาก
2+
+
2+
เป็นไอออนของธาตุต่างๆ เช่น K , Mn , Mg , Ca , Zn , Fe และ Ni (co-, con-, L: ด้วยกัน)
2+
2+
2+
2+
cohesion การเชื่อมแน่น : การยึดระหว่างโมเลกุลชนิดชนิดเดียวกัน เช่น การเกาะกันระหว่างโมเลกุลของนํ้า
colemanite โคลมาไนต์ (Ca B O .xH O) : แร่ที่มีแคลเซียมบอเรตเป็นองค์ประกอบหลัก ละลายนํ้ายากจึงควรบด
2
2 6 11
ให้ละเอียดก่อนใส่ในดิน
collenchyma คอลเลงคีมา : เซลล์มีชีวิต รูปร่างยาว ผนังเซลล์แข็งแรง ทําให้ต้นพืชมีความยืดหยุ่น (kola, G: กาว )
colloid คอลลอยด์ : อนุภาคของแข็งหรือหยดของเหลว ที่มีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร เมื่ออยู่ในตัวกลาง
สามารถกระจายได้อย่างสมํ่าเสมอในตัวกลางนั้น
combine-drilling เครื่องหว่านปุ๋ยพร้อมเมล็ด : เครื่องมือหว่านปุ๋ยที่ติดตั้งอุปกรณ์หยอดเมล็ดไว้ด้วย โดยแนวของ
ปุ๋ยที่ใส่จะอยู่ห่างและลึกกว่าแนวหยอดเมล็ดเล็กน้อย เพื่อให้รากของต้นอ่อนดูดปุ๋ยมาใช้ได้เร็ว
commensalism ภาวะได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว : การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยชนิดแรกได้ประโยชน์จาก
ชนิดที่สอง แต่ชนิดที่สองมิได้รับประโยชน์หรือโทษจากชนิดแรก เช่น พืชอิงอาศัย (epiphyte) ซึ่งเกาะตามเปลือก
ไม้ของต้นไม้ใหญ่
community ชุมชีพ: กลุ่มชนิด (species) ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้วยกันในพื้นที่หนึ่งของระบบนิเวศ (ecosystem)
องค์ประกอบประเภทสิ่งมีชีวิต (biotic component) ของระบบนิเวศ
compaction process กระบวนการอัด : การทําเม็ดปุ๋ยโดยเริ่มจากนําปุ๋ยที่บดละเอียดมาอัดระหว่างลูกกลิ้งคู่หนึ่ง
จนเชื่อมกันเป็นแผ่น แล้วนําแผ่นนั้นมาสับให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ คัดขนาดเอาเฉพาะขนาดที่ต้องการ ส่วนที่โตเกินไป
ก็สับซํ้าแล้วคัดขนาดอีกครั้ง สําหรับอนุภาคเล็ก ๆ ก็ส่งกลับไปอัดเป็นแผ่นอีกครั้งหนึ่ง เม็ดปุ๋ยที่ได้มีรูปทรงเป็น
เหลี่ยมมุมคล้ายเม็ดทราย นิยมใช้ในการผลิตปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ชนิดเม็ด
companion cell เซลล์ประกบ : เซลล์ที่อยู่ชิดกับเซลล์หลอดตะแกรง (sieve tube) ในโฟลเอ็ม ทําหน้าที่สนับสนุน
กิจกรรมของเซลล์หลอดตะแกรง
compartmentation การแยกเก็บเป็นสัดส่วน: การจัดเก็บธาตุอาหารของเซลล์ เป็น 2 ส่วน คือ (1) ส่วนที่ใช้ในเม
แทบอลิซึม (metabolic pool) เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในไซโทพลาซึมและออร์แกเนลล์ต่าง ซึ่งใช้ในกระบวนการชีวเคมี
และ (2) ส่วนที่ยังไม่ใช้ในเมแทบอลิซึมขณะนั้น (nonmetabolic pool) ได้แก่ส่วนที่เก็บไว้ในแวคิวโอล โดยมีการ
เคลื่อนย้ายผ่านโปรตีนขนส่งระหว่าง 2 ส่วนอย่างสมดุล