Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               47





                    certification การรับรอง : กระบวนการซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบมอบใบรับรองเพื่อแสดงว่า ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง
                      ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้องและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนด เช่นการรับรองแหล่งผลิตและคุณภาพของผลผลิต

                      จากระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (good agricultural practice, GAP) และเกษตรอินทรีย์ (organic farming)

                    channel ช่องผ่าน : โปรตีนขนส่งในเยื่อ จัดโครงรูปเป็นท่อกลวงทะลุผ่านเยื่อ ภายในช่องมีนํ้าเต็ม
                       เป็นตัวกลางสําหรับการแพร่ของสาร ทําหน้าที่เฉพาะในการขนส่งสารแต่ละชนิด เช่น ช่องผ่าน

                       ของนํ้า ไอออนอินทรีย์ ตัวละลายไร้ประจุ แคตไอออน และแอนไอออน
                    chelate คีเลต : สารประกอบที่เกิดขึ้นจากการจับตัวระหว่างไอออนของโลหะกับสารคีเลต (chelating agent) ด้วย

                      พันธะเคมีสองหรือมากกว่าสองแห่ง การเชื่อมโยงดังกล่าวทําให้เกิดสารใหม่ที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวน และมีโลหะ

                      เป็นองค์ประกอบตรงกลางของวงแหวนนั้น (chela, G: กรงเล็บ หรือกรรไกร)
                    chelated plant nutrients ธาตุอาหารคีเลต : สารประกอบที่ธาตุรองหรือจุลธาตุโลหะรวมตัวอยู่กับสารคีเลต  ใช้

                      ฉีดพ่นทางใบและใส่ในสารละลายธาตุอาหารสําหรับปลูกพืช
                    chelation คีเลชัน  :  ปฏิกิริยาสมดุลระหว่างไอออนของโลหะกับสารคีเลต และจับกันด้วยพันธะโคออดิเนต ได้คี

                      เลตซึ่งมีโครงสร้างเป็นวงแหวน  สารคีเลตต้องมีหมู่ฟังชัน หรือหมู่แสดงปฏิกิริยาเฉพาะตัวตั้งแต่ 2 หมู่ขึ้นไป จึงมี

                      พันธะเคมีระหว่างไอออนของโลหะกับสารคีเลตเกิดขึ้นหลายจุด  ไอออนของโลหะในโครงสร้างคีเลตออกไปทํา
                      ปฏิกิริยากับสารอื่นได้ยาก

                    chelating agent สารคีเลต  : สารประกอบที่มีจุดยึดไอออนของโลหะสองหรือมากกว่าสองจุด เมื่อไอออนของโลหะ

                      เข้ารวมกับสารคีเลตแล้วจะได้คีเลต มี 2 ประเภท คือ (1) สารคีเลตธรรมชาติ ได้แก่  กรดอะมิโน กรดฮิวมิก และ
                      polyflavanoids และ (2) สารคีเลตสังเคราะห์ ได้แก่ EDTA (ethylenediaminetetraacetic acid), HEDTA

                      (hydroxyethylenediaminetetraacetic acid), DTPA (diethylenetriaminepentaacetic acid)
                    chemical fertilizer ปุ๋ยเคมี : ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรือสารอินทรียสังเคราะห์ (เช่น ยูเรีย) รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว

                      ปุ๋ยเชิงผสมและปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี ผลิตโดยกระบวนการทางเคมี หรือการแต่งแร่อันเป็น

                      กระบวนการทางฟิสิกส์ เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์
                    chemigation การใช้สารเคมีในระบบชลประทาน : การใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชลงในนํ้าชลประทาน

                      เพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืชหรือควบคุมศัตรูพืช คํานี้มาจากการรวม 2 คํา chemical+irrigation
                    chemoautotroph เคโมออโตโทรป : จุลินทรีย์ซึ่งได้รับพลังงานจากสารเคมี และคาร์บอนจากคาร์บอนไดออกไซด์

                      เช่น nitrifying bacteria ได้พลังงานจากการออกซิไดส์แอมโมเนียมให้เป็นไนไทรต์และไนเทรต

                    chemodenitrfication ดีไนทริฟิเคชันเชิงเคมี : การสูญเสียไนโตรเจนจากดินด้วยกระบวนการรีดิวซ์ไนเทรตเชิงเคมี
                      แตกต่างจากดีไนทริฟิเคชันโดยทั่วไป ซึ่งเกิดโดยกระบวนการรีดักชันของแบคทีเรีย

                    chemoheterotroph เคโมเฮเทอโรโทรป : จุลินทรีย์ซึ่งได้รับพลังงานจากสารเคมี และคาร์บอนจากสารอินทรีย์ เช่น

                      กลูโคส
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52