Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               44





                    carbon : nitrogen ratio (organic substance) สัดส่วนคาร์บอนกับไนโตรเจน (ของสารอินทรีย์)  : อัตราส่วน
                      ระหว่างสารอินทรีย์คาร์บอนและไนโตรเจนทั้งหมดในสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นดัชนีอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ศักยภาพการ

                      ปลดปล่อยไนโตรเจนจากซากพืชที่ใส่ในดิน หากซากพืชมี C:N ratio ตํ่ากว่า 20 เช่น ซากพืชตระกูลถั่วลงไปในดิน

                      คาดว่าจะมีมินเนอราลไลเซชันสุทธิของไนโตรเจน แต่ถ้ามี C:N ratio สูงกว่า 30  ฟางข้าวคาดว่าจะมีอิมโมบิไลเซ
                      ชันสุทธิของไนโตรเจน ดู mineralization และ immobilization ประกอบ

                    carbon : nitrogen ratio, soils สัดส่วนคาร์บอนกับไนโตรเจนของดิน  : สัดส่วนระหว่างร้อยละของอินทรีย์
                      คาร์บอนกับร้อยละของไนโตรเจนในดิน

                    carbon sequestration การยึดคาร์บอน: การตรึงคาร์บอนไว้ในมวลชีวภาพเพื่อยืดเวลาในการปลดปล่อย

                      คาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศ เป็นวิธีการหนึ่งในการลดปัญหาโลกร้อน เช่น การปลูกไม้โตเร็วและอายุยืนให้มากที่สุด
                      การสังเคราะห์แสงของพืชช่วยดึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาไว้ในมวลชีวภาพ ส่วนซากพืชที่ร่วงหล่นช่วย

                      ลดการชะล้างและการกร่อนดิน สลายตัวอย่างช้าๆกลายเป็นอินทรียวัตถุซึ่งมีบทบาทในการเพิ่มผลิตภาพของดิน
                      นอกจากนี้อินทรียวัตถุปริมาณมากในดินซึ่งสลายตัวช้า ยังมีบทบาทชะลอการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่

                      อากาศต่อไปอีก การเปลี่ยนมวลชีวภาพเป็นถ่านชีวภาพ (biochar) แล้วใส่ในดินก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยยึดคาร์บอน

                      ไว้ในพื้นที่เกษตรกรรม (ดู biochar ประกอบ)
                    carbonic anhydrase คาร์บอนิกแอนไฮเดรส: เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาไฮเดรชันของคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ไบ

                      คาร์บอเนตซึ่งละลายนํ้าง่าย ช่วยให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์แสงในคลอโรพลาสต์ได้เร็ว

                      เอนไซม์นี้ 1 โมเลกุลมีสังกะสี 6 อะตอม
                    carnallite คาร์นัลไลต์: แร่โพแทชชนิดหนึ่งสูตรเคมี MgCl .KCl.6H O ใช้ในการผลิตปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ใน
                                                                        2
                                                                 2
                      เยอรมัน ฝรั่งเศส และอดีตสหภาพโซเวียต พบแร่ชนิดนี้เป็นปริมาณมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยอยู่ใน
                      ชั้นเกลือหินใต้ดิน

                    carotene แคโรทีน: สารสี (pigment) เหลือง โมเลกุลใหญ่มีสูตรทางเคมี C H  สมบัติเป็นโปรวิตามินเอ
                                                                              40 56
                      (provitamin A) เมื่อแคโรทีนแตกตัวจะได้วิตามินเอ พบมากในผักผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เหลือง และเขียว
                    carotenoids แคโรทีนอยด์ : สารสีเสริมในกระบวนการสังเคราะห์แสง ประกอบด้วยแคโรทีน และซานโทฟิลล์ มีสี

                      แดง ส้มหรือเหลือง ทําหน้าที่รับพลังงานแสงแล้วส่งต่อไปยังคลอโรฟิลล์ นอกจากนั้นยังช่วยปกป้องคลอโรฟิลล์
                      ไม่ให้เสียหายจากการออกซิเดชันเชิงแสง

                    carrier (1) แคร์ริเออร์ : โปรตีนขนส่งในเยื่อของเซลล์ ทําหน้าที่ในการดูดไอออนแต่ละชนิดอย่างจําเพาะเจาะจง

                      ปัจจุบันนิยมเรียกว่าโปรตีนขนส่ง (transport protein)
                    carrier (2) วัสดุรองรับ : สิ่งที่นํามาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เป็นสารเฉื่อยทาง

                      เคมี ดูดซับความชื้นได้ดีและไม่มีสารพิษต่อจุลินทรีย์ ช่วยให้จุลินทรีย์ดํารงชีวิตและเจริญเติบได้ในช่วงที่เก็บรักษา

                                                                9
                      เมื่อเริ่มต้นวัสดุรองรับ 1 กรัมเลี้ยงจุลินทรีย์มีชีวิตได้ 10  เซลล์ และหลังการผลิต 6 เดือนจะต้องมีจุลลินทรีย์มี
                      ชีวิต 10  เซลล์/กรัม
                            8
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49