Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
43
Calvin cycle วัฏจักรแคลวิน : ชุดของปฏิกิริยาที่เกิดต่อเนื่องกันในกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นส่วนของ
ปฏิกิริยาที่ไม่ขึ้นกับแสง เกิดในสะโทรมาของคลอโพลาสต์ ใช้ ATP และ NADPH จากปฏิกิริยาแสง และใช้ CO
2
จากอากาศเพื่อสังเคราะห์กลูโคส ธาตุ N, P, K, Mg และ Zn มีบทบาทสําคัญในกระบวนการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
แมกนีเซียมมีบทบาทเกี่ยวกับเอนไซม์ต่อไปนี้ (1) เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์ Rubisco (2) ATP-Mg เป็นซับส
เทรตของเอนไซม์ phosphoglycerate kinase และ phosphoribulo kinase และ (3) เป็นโคแฟกเตอร์ของ
เอนไซม์ 1,6-bisphosphatase และ sedoheptulose 1,7- bisphosphatase
CAM plant พืชแคม: พืชที่เติบโตได้ในสภาพแห้งแล้ง มีวิวัฒนาการเพื่อลดการสูญเสียนํ้าทางปากใบในเวลากลางวัน
โดย (1) การลดรูปของใบให้มีขนาดเล็กลง (2) ปากใบปิดในเวลากลางวัน (3) มีใบและลําต้นอวบนํ้า และ (4) ปรับ
กระบวนการสังเคราะห์แสงให้มีทั้งกลางคืนและกลางวัน พบครั้งแรกในพืชชื่อ Bryophyllum calycium วงศ์
Crassulaceae เป็นพืชที่มีใบอวบนํ้า จึงเรียกกลไกของการสังเคราะห์แสงว่า Crassulacean acid metabolism
(CAM) พืชในกลุ่มนี้ได้แก่สับปะรด และตะบองเพชร
capacity factor ปัจจัยด้านความจุ : ปริมาณธาตุอาหารส่วนสํารองในดินที่ละลายยาก แต่จะปลดปล่อย หรือ
เคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในสารละลายดิน เมื่อส่วนที่มีอยู่ในสารละลายดินแต่เดิม ถูกรากพืชดูดหรือสูญหายไปโดยวิธี
อื่น ปริมาณธาตุอาหารสํารองในดินมีความสําคัญเพราะสามารถปลดปล่อยออกมาสู่สารละลายดินอย่างต่อเนื่อง เพื่อ
หล่อเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโตได้ตลอดช่วงอายุ แต่อัตราการปลดปล่อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแร่และสารประกอบ
ต่างๆในดิน ตลอดจนสมบัติทางเคมีของดินด้วย เปรียบเทียบกับ intensity factor
carbamylurea คาร์บามิลยูเรีย : ดูคําอธิบายใน biuret
carbohydrate คาร์โบไฮเดรต : สารอินทรีย์ประกอบด้วย 3 ธาตุ ได้แก่คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน สูตรเคมี
ทั่วไป คือ C (H O) มีตั้งแต่สารโมเลกุลเล็กที่สุดเรียกว่าโมโนแซกคาไรด์ ได้แก่กลูโคส โมเลกุลใหญ่ขึ้น คือ ได
n
2
n
แซกคาไรด์ ได้แก่ซูโครศ จนถึงสารที่มีโมเลกุลใหญ่เรียกว่าพอลิแซกคาไรด์ เช่น แป้งและเซลลูโลส โดยแป้งเป็น
แหล่งพลังงานสะสมในอวัยวะต่างๆ ส่วนเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของผนังเซลล์พืช
carbon คาร์บอน : มหธาตุสัญลักษณ์ C นํ้าหนักอะตอม 12 เป็นองค์ประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งพืชใช้
เป็นแหล่งคาร์บอนในกระบวนการสังเคราะห์แสง คาร์บอนเป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิต เช่น
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิปิด วิตามินและกรดนิวคลีอิก คาร์บอนเป็นองค์ประกอบในปุ๋ยยูเรียและอินทรียวัตถุในดิน
ส่วนเกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตในดินเป็นสารอนินทรีย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
carbon cycle วัฏจักรคาร์บอน : กระบวนการหมุนเวียนของคาร์บอนจากสิ่งมีชีวิต คือ จุลินทรีย์ พืชและสัตว์ไปสู่
อากาศ แล้วกลับมายังสิ่งมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มจากการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศของพืชโดย
กระบวนการสังเคราะห์แสง ได้มวลชีวภาพ ซึ่งผู้บริโภค (สัตว์และมนุษย์) ใช้เป็นอาหาร ต่อจากนั้นก็ปลดปล่อย
คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในกระบวนการหายใจ หรือการสลายของสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย แล้วกลับมาสู่รูปเดิมใน
อากาศ
carbon fixation การตรึงคาร์บอน : ภาคหนึ่งของกระบวนการสังเคราะห์แสง อันเป็นปฏิกิริยาที่ไม่ขึ้นกับแสง คือ
การนําคาร์บอนจาก CO มาสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ โดยใช้พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาแสง ธาตุอาหารที่มี
2
บทบาทสําคัญ คือ ไนโตรเจน กํามะถัน แมกนีเซียม โพแทสเซียม และสังกะสี