Page 40 -
P. 40

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               40





                                                               C



                    C: 1) สัญลักษณ์ของธาตุคาร์บอน (carbon)
                    C: 2) อักษรย่อของหน่วยการวัดอุณหภูมิแบบ centigrade หรือ Celsieus

                    C  plant พืช C : พืชประเภทหนึ่งซึ่งสารอินทรีย์ชนิดแรก ที่เกิดในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของการ
                                3
                     3
                      สังเคราะห์แสงคือ กรดฟอสโฟกลีเซอริก มีคาร์บอน 3 อะตอม พืชกลุ่มนี้มีกําเนิดในแถบอบอุ่น ลักษณะทั่วไปมี
                      ดังนี้ อัตราการสร้างนํ้าหนักแห้งต่อหน่วยปริมาณนํ้าที่ใช้ตํ่า มีการหายใจเชิงแสง ต้องการความเข้มข้นของ

                      คาร์บอนไดออกไซด์เพื่อการสังเคราะห์สูงกว่าพืช C  ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงตํ่ากว่าพืช C  พืชในกลุ่มนี้
                                                                                                 4
                                                            4
                      ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวสาลี ข้าวไรย์และข้าวโอ๊ต
                    C  plant พืช C : พืชประเภทหนึ่งซึ่งสารอินทรีย์ชนิดแรกที่เกิดในกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของการ
                                4
                     4
                      สังเคราะห์แสงคือ กรดออกซาโลแอซิติก มีคาร์บอน 4 อะตอม พืชกลุ่มนี้มีกําเนิดในแถบร้อนชื้น ลักษณะทั่วไปมี
                      ดังนี้ อัตราการสร้างนํ้าหนักแห้งต่อหน่วยปริมาณนํ้าที่ใช้สูง ไม่มีการหายใจเชิงแสง ต้องการความเข้มข้นของ

                      คาร์บอนไดออกไซด์เพื่อการสังเคราะห์ตํ่ากว่าพืช C  ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงสูงกว่าพืช C  พืชในกลุ่มนี้
                                                                                                 3
                                                            3
                      ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด และข้าวฟ่าง
                    Ca: สัญลักษณ์ของธาตุแคลเซียม (calcium)

                    Ca  channel ช่องแคลเซียม: โปรตีนขนส่งประเภทช่องผ่าน อยู่ในเยื่อ มีสัมพรรคภาพต่อการขนส่งแคลเซียม
                      2+
                      ไอออนสูงกว่าแคตไอออนอื่น

                    Ca  channel blocker ตัวขัดขวางช่องแคลเซียม: สารที่มีผลให้การขนส่งแคลเซียมไอออนผ่านช่องแคลเซียมไม่ได้
                      2+
                      เช่น แลนทานัมไอออน
                      2+
                    Ca  pump ตัวสูบแคลเซียมไอออน: โปรตีนขนส่งประเภทตัวสูบ อยู่ในเยื่อ ทําหน้าที่ขับแคลเซียมไอออนผ่านเยื่อ
                      เพื่อควบคุมความเข้มข้นภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของเซลล์ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ในระบบส่งสัญญาณที่มี
                      แคลเซียมไอออนเป็นตัวนํารหัสที่สอง (second messenger) ดู calmodulin และ second messenger

                      ประกอบ
                    Ca  transporter พาหะขนส่งแคลเซียมไอออน: โปรตีนขนส่งประเภทพาหะ อยู่ในเยื่อ ทําหน้าที่ดูดเฉพาะ
                      2+
                      แคลเซียมไอออนจากภายนอกผ่านเยื่อเข้ามาในเซลล์

                    cadmium แคดเมียม: ธาตุประเภทโลหะหนักซึ่งเป็นพิษ สัญลักษณ์ธาตุ Cd นํ้าหนักอะตอม 112.4 มีในดินประมาณ
                      0.4 มก.Cd/กก. อาจพบในหินฟอสเฟต 1-87 มกCd/กก. ขึ้นอยู่กับแหล่งของหินฟอสเฟต หากหินฟอสเฟตมี

                      แคดเมียมสูงก็อาจมีธาตุนี้เจือปนในปุ๋ยฟอสเฟตที่ผลิตก็ได้ แคดเมียมเกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์มากกว่าโลหะ

                      หนักอื่นๆ เป็นสาเหตุของโรค Itai-Itai (ภาษาญี่ปุ่น) ในมนุษย์
                    caffeic acid กรดแคฟเฟอิก: อนุพันธ์ของ xanthine (2,6-dihydroxypurine) ซึ่งรากพืชขับออกมาสู่ดิน เพื่อรีดิวซ์

                      สารประกอบเฟอริกให้เป็นเฟอรัส ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของเหล็กในดิน
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45