Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
37
bokashi โบกาชิ: คําในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าอินทรียวัตถุที่หมักแล้ว เตรียมได้จากการหมักรําข้าว กากถั่ว เศษปลาป่น
และอื่นๆ กับจุลินทรีย์ที่เรียกว่า effective microorganisms (EM)
bone meal กระดูกบด: ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนํากระดูกไปกําจัดสารเจลาตินและสารเหนียวต่างๆ แล้วจึงบดให้เป็น
ผง มีไนโตรเจนอย่างน้อย 3%N และฟอสฟอรัสประมาณ 22%P O (8% สกัดได้ด้วยสารละลายซิเทรต)
2 5
bone superphosphate ซูเปอร์ฟอสเฟตจากกระดูก: ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดแรกของโลก ได้จากการนํากระดูกป่น
มาทําปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก เริ่มผลิตเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา เมื่อขาดแคลนกระดูกป่นจึงใช้หินฟอสเฟต
เป็นวัตถุดิบแทน
BONSUCRO บง-ซู-โคร่: มาตรฐานสากลเพื่อการผลิตอ้อยและนํ้าตาลที่มีความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งคนในวงการนํ้าตาลทั่วโลกยอมรับ โดยมีการควบคุมการผลิตตั้งแต่ชาวไร่ จนไปถึงผู้ซื้อ ครอบคลุม
ตลอดห่วงโซ่ของการผลิตอ้อยและนํ้าตาล มีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
(bon, F: ดี sucrosum, L: นํ้าตาล)
borate diester bond พันธะโบเรตไดเอสเทอ : พันธะเคมีอย่างหนึ่งที่เกิดระหว่างกรดบอริกกับสารอินทรีย์ เช่น
พันธะเคมีที่เชื่อมโมโนเมอร์ของแรมโนกาแลกทูรอแนน II (RG II)ในผนังเซลล์จํานวนสองหน่วย ทําให้ผนังเซลล์
แข็งแรง
borax บอแรก: เกลือโซเดียมโบเรต (Na B O . 10H O) เป็นสารที่มีผลึกสีขาว ใช้เป็นปุ๋ยให้ธาตุโบรอน ผลิตโดยนํา
2
2 4 7
สินแร่ซึ่งมีแร่ kernite, tincal, colemanite และ ulexite มาแยกให้ได้บอแรกบริสุทธิ์
body เทห์: ตัวหรือองค์ เช่น เทหวัตถุ คือ ก้อน ชิ้นหรือส่วนของสาร อาจเป็นของแข็ง ของเหลวหรือแก๊สก็ได้ ศัพท์
บัญญัติในกลุ่มนี้ได้แก่ วัสดุ (material) สสาร (matter) สาร (substance) และวัตถุ (object) อ่านเพิ่มเติมจาก
คําอธิบายศัพท์แต่ละคํา
bone phosphate of lime โบนฟอสเฟตออฟไลม์ : คําที่ใช้ประกอบหน่วยในการบอกปริมาณของไตรแคลเซียม
ฟอสเฟต [Ca (PO ) ] ที่มีในหินฟอสเฟต (เรียกโดยย่อว่า BPL) โดยหินฟอสเฟตที่นํามาผลิตเป็นปุ๋ยซูเปอร์
3
4 2
ฟอสเฟตควรมีค่า BPL อยู่ระหว่าง 60-80% หรือมีปริมาณฟอสเฟตอยู่ระหว่าง 28-38%P O ค่า BPL ของหิน
2 5
ฟอสเฟตสามารถเปลี่ยนค่าเป็น %P O หรือเปลี่ยนกลับไปมาได้ดังนี้ %P O = BPL x 0.4576 และ BPL =
2 5
2 5
%P O x 2.1852
2 5
boric acid กรดบอริก: กรดอนินทรีย์ที่มีโบรอนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมี H BO หรือ B(OH) เป็นรูปที่เซลล์พืช
3
3
3
ดูดไปใช้ประโยชน์ได้
boron โบรอน: จุลธาตุประเภท non-metallic นํ้าหนักอะตอม 10.8 เซลล์พืชดูดในรูป H BO มีบทบาทสําคัญคือ
3
3
เป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ สร้างบูรณภาพของเยื่อในเซลล์ ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสารอินทรีย์ทางโฟลเอ็ม
ควบคุมเมแทบอลิซึมของสารประกอบฟีนอลไม่ให้เป็นพิษ เพิ่มการตรึงไนโตรเจน ส่งเสริมการสังเคราะห์แสง และ
ส่งเสริมการเติบโตของพืชในระยะเจริญพันธุ์ อาการขาดโบรอนมักปรากฏที่ปลายยอดอ่อน เช่น ยอดมีขนาดเล็ก ใบ
อ่อนผิดรูปทรง ต่อมาปลายยอดตาย มีการแตกตาข้างเป็นกิ่งขนาดเล็ก ลําต้นแตก กลางลําต้นกลวง โฟลเอ็มตาย
ใบดอกและผลร่วง ผลมีเนื้อน้อย ความเข้มข้นวิกฤติในพืช 20 มกB/กก. ความเข้มข้นในดินที่เพียงพอแก่พืช คือ
ปริมาณโบรอนที่สกัดได้ด้วยนํ้าร้อน (hot-water soluble B) 0.5 มก.B/กก.