Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               35





                    biodegradable ย่อยสลายได้ด้วยสิ่งมีชีวิต: สภาพของสารที่สามารถย่อยสลายได้โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ อันเป็น
                      กระบวนการทางชีวเคมี เช่น เซลลูโลสย่อยสลายได้ด้วยเอนไซม์เซลลูเลส จากจุลินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ที่เหมาะสม

                      ในการผลิตปุ๋ยหมัก ช่วยลดช่วงเวลาการหมักให้สั้นลง

                    biodynamic farming การทําฟาร์มแบบไบโอไดนามิก: การบํารุงพืชที่ปลูกด้วยสารจากธรรมชาติ เช่น ฉีดพ่นด้วย
                      สารละลายซึ่งเตรียมจากการหมักมูลสัตว์ ตลอดจนสารสกัดจากพืชบางชนิด เพื่อกระตุ้นการเติบโตของพืช

                    biofertilifer ปุ๋ยชีวภาพ: ปุ๋ยที่ได้จากการนําจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารในดิน
                      เป็นประโยชน์ต่อพืช  แบ่งเป็น 3 พวก คือ (1) พวกตรึงไนโตรเจน เช่น ไรโซเบียม และ อะโซโตแบคเตอร์ (2) พวก

                      ละลายฟอสเฟต/เคลื่อนย้ายฟอสเฟต พวกละลายฟอสเฟต เช่น แบซิลลัส และซูโดโมแนส ส่วนพวกละลาย/

                      เคลื่อนย้ายฟอสเฟต ได้แก่ไมคอร์ไรซา และ (3) ไรโซแบคทีเรียเร่งการเจริญเติบโตของพืช (plant growth
                      promoting rhizobacteria, PGPR) เช่น ซูโดโมนาส (Pseudomonas)

                    biofertilizer application การใช้ปุ๋ยชีวภาพ : การนําปุ๋ยชีวภาพเข้าสู่ระบบดิน/พืชเพื่อการเพิ่มผลผลิตพืช วิธีการใช้
                      มีหลายอย่าง เช่น ใส่ในดินโดยตรง คลุกเมล็ด คลุกหัว (เช่นมันฝรั่ง) จุ่มให้ติดรากต้นกล้า และชุบท่อนพันธุ์ (เช่น

                      อ้อย) สําหรับปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิดมีดังนี้ ข้าวใช้สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน ถั่วใช้ไรโซเบียม ส่วนอ้อย

                      ใช้ Azotobacter, Azospirillum และจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต
                    biofertilizer quality คุณภาพปุ๋ยชีวภาพ : สภาพเชิงคุณค่าของปุ๋ยเมื่อเทียบกับมาตรฐานที่กําหนด ซึ่งพิจารณาจาก

                      หลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ (1) ประสิทธิภาพของสายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีในปุ๋ย (2) เกรดของแคร์ริเออร์ (carrier) และ

                      สารยึดติด (adhesive) ที่ใช้ผสม และ (3) ประชากรขั้นตํ่า (minimum population) ของจุลินทรีย์หลักในปุ๋ย
                      ชีวภาพ

                    biogenic opal ไบโอเจนิก โอพอล : ซิลิคอนไดออกไซด์อสัณฐาณ (SiO ) ในผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นผิว เกิดจาก
                                                                           2
                      การเปลี่ยนแปลงของกรดพอลิซิลิซิก (polysilicic acid)

                    binary fertilizers ปุ๋ยสองธาตุ: ปุ๋ยเคมีซึ่งมีธาตุกลัก (N, P และ K) เพียง 2 ธาตุ

                    binder สารเชื่อม: สารที่ส่งเสริมการเกาะตัวของเนื้อปุ๋ยในเม็ดปุ๋ย การปั้นเม็ดปุ๋ยผสมใน  steam granulation
                      process ใช้ดินขาว (แร่ดินเหนียวเคโอลิไนต์) เป็นสารเชื่อมบางส่วน

                    bioinoculantion การใส่เชื้อ การปลูกเชื้อ: การใส่เชื้อจุลินทรีย์ เช่นปุ๋ยชีวภาพซึ่งมี 3 วิธี คือ คลุกเมล็ด คลุกส่วน
                      อื่นของพืช หรือใส่ในดิน

                    biological nitrogen fixation การตรึงไนโตรเจนด้วยชีววิธี: กระบวนการซึ่งจุลินทรีย์เปลี่ยนแก๊สไนโตรเจน (N )
                                                                                                          2
                      ให้เป็นแอมโมเนีย (NH ) โดยใช้เอนไซม์ไนโตรจีเนส แบ่งเป็น 2 แบบ คือ  (1) การตรึงโดยมีภาวะอยู่ร่วมกัน เช่น
                                       3
                      กรณีของไรโซเบียมกับรากพืชตระกูลถั่ว และ (2) การตรึงโดยจุลินทรีย์ที่ดํารงชีพอิสระของจุลินทรีย์หลายชนิด ธาตุ

                      ที่มีบทบาทสําคัญในการตรึงไนโตรเจน คือ โมลิบดีนัมและโคบอลต์

                    biological yield ชีวผลผลิต: มวลชีวภาพของพืชที่ผลิตได้ต่อหน่วยพื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น นํ้าหนักพืชทั้งหมด/
                       ไร่/ปี ดู biomass ประกอบ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40