Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               32





                                                               B



                    B : สัญลักษณ์ของธาตุโบรอน (boron) ซึ่งเป็นธาตุอาหารพืชประเภทจุลธาตุ ดูรายละเอียดใน boron
                    B-polyol complexes สารเชิงซ้อนโบรอน-พอลิออล : สารเชิงซ้อนระหว่างพอลิออลซึ่งสังเคราะห์ในใบที่เป็น

                      แหล่งจ่าย (source) ของพืชบางชนิดกับกรดบอริก เป็นสารที่เคลื่อนย้ายทางโฟลเอ็มได้ง่าย ทําให้โบรอนเป็นธาตุที่มี
                      สภาพเคลื่อนได้สูงในพืชประเภทนี้

                    B-polysaccharide complex สารเชิงซ้อนโบรอน-พอลิแซกคาไรด์ : สารเชิงซ้อนแรมโนกาแลกทูรอแนน-บอเรต ทํา

                      หน้าที่เสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์ เกิดจากโมโนเมอร์จํานวนสองโมเลกุลเชื่อมกันด้วยพันธะบอเรต-ไดเอส
                      เทอร์ ได้ไดเมอร์

                    bacteroids แบคทีรอยด์ : เซลล์ไรไซเบียมในปมรากถั่วที่เปลี่ยนรูปร่างแตกต่างไปจากเดิม มีสภาพพร้อมสําหรับการ
                      ตรึงไนโตรเจน

                    bagasse บากาส : ชานอ้อย หรือต้นอ้อยภายหลังจากคั้นนํ้าอ้อยออกไปแล้ว ลักษณะเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ทําปุ๋ยหมักหรือ

                      เป็นเชื้อเพลิง
                    bagfilter เครื่องกรองฝุ่นแบบถุง  : อุปกรณ์กรองละอองในอากาศที่ติดมากับกระแสลมซึ่งถูกเป่าเข้ามา  ตัวกรองทํา

                      เป็นถุงผ้าจํานวนมาก เมื่ออากาศผ่านเข้าสู่อุปกรณ์นี้ฝุ่นก็ติดอยู่ที่ก้นถุง

                    balanced crop nutrition อาหารพืชสมดุล: สถานภาพด้านธาตุอาหารของพืชซึ่งอยู่ในลักษณะสมดุล คือ พืชได้รับ
                      ครบทุกธาตุ แต่ละธาตุเพียงพอ และเรโชระหว่างธาตุต่างๆพอเหมาะ จึงไม่ขาดธาตุใดหรือมีธาตุใดมากเกินไป

                      เป้าหมายของการแนะนําด้านธาตุอาหารพืช คือให้พืชได้รับธาตุอาหารต่างๆอย่างสมดุล

                    balanced fertilizer use การใช้ปุ๋ยสมดุล: การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุหลัก ธาตุรองหรือจุลธาตุ เฉพาะธาตุที่พืชได้รับ
                      จากดินไม่เพียงพอ ให้เพียงพอและสมดุลสําหรับการเจริญเติบโต ปุ๋ยที่ใช้อาจมีเฉพาะธาตุอาหารหลักหากดินขาด

                      แคลนเฉพาะ 3 ธาตุนี้ แต่ถ้าดินขาดแคลนธาตุรองและจุลธาตุเพียงธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุ การใช้ปุ๋ยที่สมดุล
                      จึงต้องรวมถึงธาตุเหล่านั้นด้วย

                    ballistic segregation การแยกตัวด้วยแรงเหวี่ยง : การแยกตัวของเม็ดปุ๋ยต่างขนาดในปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้าเมื่อ
                      ปุ๋ยนั้นถูกเหวี่ยง  เช่น การเหวี่ยงของใบพัดในเครื่องหว่านปุ๋ยเป็นเหตุให้ปุ๋ยเม็ดโตกระเด็นไปไกลส่วนเม็ดเล็กจะ

                      หล่นอยู่ใกล้ๆ มีผลให้การกระจายของปุ๋ยบนผิวดินไม่สมํ่าเสมอ

                    band placement การใส่เป็นแถบแคบ : การใส่ปุ๋ยที่ควบคุมให้ปุ๋ยกระจายเป็นแถบ บนผิวดินหรือใต้ผิวดิน ความ
                      กว้างของแถบปุ๋ย สอดคล้องกับลักษณะการกระจายของรากพืช ปุ๋ยจึงสัมผัสกับมวลดินเฉพาะบริเวณที่ปุ๋ยกระจาย

                      อยู่เท่านั้น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37