Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               27





                    antagonism of elements ภาวะปฏิปักษ์ของธาตุ : อันตรกิริยา (interaction) เชิงลบเมื่ออยู่รวมกันของธาตุอาหาร
                      2 ธาตุ โดยธาตุหนึ่งในคู่ดังกล่าว มีผลต่ออีกธาตุหนึ่งในด้านความเป็นประโยชน์ในดิน การดูดของรากและต่อการ

                      เจริญเติบโตของพืชในเชิงลบหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน โดยธาตุหนึ่งยับยั้งหรือลดการดูด การใช้ประโยชน์ หรือการ

                      แสดงผลของอีกธาตุหนึ่ง เช่น P กับ Zn (ant-,G: ขัดขวางหรือตรงกันข้าม)
                    antagonism of organisms ภาวะปฏิปักษ์ของสิ่งมีชีวิต : อันตรกิริยา (interaction) เชิงลบเมื่ออยู่รวมกันของ

                      สิ่งมีชีวิตสองชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งทําให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เนื่องจากภาวะปรสิต (parasitism) ภาวะล่าเหยื่อ
                      (predation) และภาวะหลั่งสารยับยั้งการเจริญเติบโต (antibiosis) หรือต่างก็เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เช่น ภาวะ

                      แข่งขัน (competition)

                    anthesis ดอกบาน: ขั้นตอนที่อับเรณูของดอกปริ แสดงถึงความพร้อมในการถ่ายเรณู
                    anthocyanin แอนโทไซยานิน: สารสี (pigment) ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ละลายนํ้าได้ดี ให้สีนํ้าเงิน แดง

                      และสีม่วง กับดอก ใบผักและผลไม้ การเปลี่ยนสีขึ้นอยู่กับสภาพกรด-ด่าง คือ สีนํ้าเงินเข้มในสภาพด่าง (pH>7) สี
                      ม่วงเมื่อเป็นกลาง(pH 7) และสีแดงถึงส้มได้ในสภาพกรด (pH<7) มีบทบาทในพืชดังนี้ (1) มีฤทธิ์เป็นสารต้าน

                      อนุมูลอิสระ (antioxidant) ยับยั้งการออกซิเดชันของลิโพโปรตีน และ (2) ปกป้องเยื่อต่างๆของเซลล์ โมเลกุล

                      DNA และส่วนที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์แสง ใบพืชที่ขาดฟอสฟอรัสระยะแรกจะมีแอนโทไซยานินเพิ่มขึ้นแต่
                      คลอโรฟิลล์ยังเท่าเดิม ทําให้มีสีเขียวเข้มขึ้น แต่เมื่ออาการขาดรุนแรงและปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบลดลง จะปรากฏ

                      สีม่วงของแอนโทไซยานินแทรกขึ้นมาให้เห็น

                    anticaking agent; conditioners; fertilizer conditioners; conditioning material สารป้องกันการจับตัว
                      เป็นก้อน วัสดุปรับสภาพปุ๋ย : วัสดุเฉื่อย  (สารซึ่งเฉื่อยหรือไม่ทําปฏิกิริยาเคมีโดยง่ายภายใต้สภาวะปกติ) ผสมกับ

                      ปุ๋ยเคมีแบบต่างๆเพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (caking) เช่น  ดินเบา หรือดินไดอะตอม (diatomaceous
                      earth) หรือดินเหนียวเคโอลิน (anti-, G: ขัดขวาง)

                    antioxidant ตัวต้านออกซิเดชัน : สารยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน (anti-G: ขัดขวาง) ช่วยในการจับหรือทําลาย

                      อนุมูลอิสระ (free radicals)  ซึ่งเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมและมีผลเสียต่อเซลล์พืช ตัวต้านอนุมูลอิสระที่
                      รู้จักกันทั่วไปได้แก่ vitamin E (a-tocopherol) และ vitamin C

                    antiport การขนส่งสวนทาง : การขนส่งไอออนหรือโมเลกุล 2 ชนิด แบบแอกทีฟทุติยภูมิ (secondary active
                      transport) ผ่านโปรตีนพาหะในเยื่อควบคุมให้มีลักษณะแลกเปลี่ยน (exchange)  โดยไอออนชนิดหนึ่งออกจาก

                      เซลล์ แต่ไอออนอีกชนิดหนึ่งเข้าไปในเซลล์พร้อมกัน

                    antiporter พาหะขนส่งสวนทาง: โปรตีนขนส่งประเภทพาหะทําหน้าที่ขนส่งไอออนหรือโมเลกุล 2 ชนิด แบบสวนทาง
                      (antiport)

                    AOAC เอโอเอซี : อักษรย่อของ Association of  Official  Analytical Chemists (สมาคมนักเคมีวิเคราะห์

                      ทางการ) ซึ่งเป็นสมาคมที่มีบทบาทสําคัญในการกําหนดวิธีวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานของการวิเคราะห์ใน
                      ห้องปฏิบัติการทางเคมีทั่วโลก
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32