Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
22
aluminum phosphate อะลูมินัมฟอสเฟต: สิ่งเจือปนที่พบทั่วไปในหินฟอสเฟต สูตรเคมี AlPO เป็นผลปฏิกิริยา
4
ระหว่างอะลูมินัมของแร่ดินเหนียวกับอนุมูลฟอสเฟตในหินฟอสเฟต เกลือนี้ละลายนํ้ายากมาก จึงมีผลเสีย 2
ประการ (1) เมื่อใช้หินฟอสเฟตบดใส่ในดินโดยตรง อะลูมิเนียมฟอสเฟตที่เจือปนไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช และ (2)
เมื่อใช้หินฟอสเฟตในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย หากมีอะลูมินัมฟอสเฟตเจือปนอยู่มาก จะเป็นหินฟอสเฟตคุณภาพ
ตํ่า เนื่องจากปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตที่ผลิตจากหินฟอสเฟตเกรดนี้มีลักษณะชื้นและเหนียวหนืด (ดู leached zone
ore ประกอบ)
aluminum sulfate อะลูมินัมซัลเฟต: เกลือซึ่งผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่าง bauxite กับกรดซัลฟิวริก สูตรเคมี
Al (SO ) .18H O เป็นเกลือที่ละลายนํ้าง่ายและใช้ประโยชน์ได้ดังนี้ คือ (1) ใส่ในดินด่างเพื่อลด pH ลง และ (2)
2
2
4 3
เพิ่มสภาพกรดในดินเพื่อให้เหมาะกับการปลูกพืชบางชนิด เช่น โรโดเดนดรอน อะซาเลีย คาเมลเลีย และบลูเบอรี
alunite อะลูไนต์ : แร่ที่มีโพแทสเซียมซัลเฟตและอะลูมินัมฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ เกลือโพแทชในแร่นี้ไม่ละลาย
นํ้า แต่จะละลายได้เมื่ออบแร่นี้ด้วยความร้อนสูง
ameliorant, soil สารปรับสภาพดิน : สารที่ใช้ปรับปรุงสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์และชีวภาพของดิน เพื่อช่วยให้สภาพ
ดินเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช ได้แก่การใส่ปูนเพื่อลดสภาพกรดของดิน การปรับปรุงดินโซดิกด้วยยิปซัม
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดความหนาแน่นรวม เพิ่มการการถ่ายเทอากาศของดินและทําให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน
สูงขึ้น (ameliorate แปลว่าช่วยเหลือ เยียวยา)
amendment, soil สารปรับปรุงดิน : สารใดๆก็ตามที่ใส่ในดินแล้วช่วยปรับปรุงดินทางเคมีและ
ฟิสิกส์ ทําให้ดินมีสภาพเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช อาจเป็น (1) สารที่ใช้ปรับปรุง
สมบัติทางเคมี เช่น ปูน ยิปซัม หรือ (2) สารที่ใช้ปรับปรุงสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น แกลบ และสาร
สังเคราะห์ประเภทสารอุ้มนํ้า (amend แปลว่าแก้ไข) มีความหมายคล้าย soil ameliorant
amino acid กรดอะมิโน: กรดอินทรีย์ที่มีหมู่อะมิโน (amino group, -NH ) หมู่คาร์บอกซิลิก (carboxylic group)
2
เป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน
amino acid chelate คีเลตกรดอะมิโน: สารประกอบซึ่งมีกรดอะมิโน 2 โมเลกุลเป็นสารคีเลต (chelating agent)
ทําปฏิกิริยากับไอออนของโลหะ โดยใช้หมู่อะมิโน (amino group) และหมู่คาร์บอกซิล (carboxyl group) จับกับ
โลหะ
amino acid synthesis การสังเคราะห์กรดอะมิโน: กระบวนที่เซลล์นําแอมโมเนียมาทําปฏิกิริยากับสารตั้งต้นรวม 3
ขั้นตอนจนได้กรดอะมิโน เอนไซม์ชนิดแรกของกระบวนการ คือ กลูตามีนซินทีเทส ซึ่งใช้แมกนีเซียมเป็นโคแฟก
เตอร์
amino acid transporter พาหะขนส่งกรดอะมิโน: โปรตีนขนส่งประเภทพาหะที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทําหน้าที่ดูดกรดอะมิ
โนจากนอกเซลล์เข้าไปใช้ประโยชน์
amino group หมู่อะมิโน : หมู่ -NH ที่อยู่กับสารอินทรีย์ เช่น กรดอะมิโน
2