Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
18
adduct ผลผลิตของการรวมตัว: โมเลกุลใหม่เกิดจากการรวมตัวของโมเลกุลสารสองชนิดขึ้นไป โดยสารดังกล่าวเข้า
มาทําปฏิกิริยากัน แล้วรวมเป็นโมเลกุลเดียว เช่น โมโนแคลเซียมฟอสเฟตโมโนไฮเดรต [Ca(H PO ) .H O] รวมตัว
2
4 2
2
กับยูเรีย [CO(NH ) ] จํานวน 4 โมเลกุล กลายเป็นโมเลกุลเดียว คือ Ca(H PO ) .4CO(NH ) แล้วปลดปล่อยนํ้า
2 2
2
2 2
4 2
ผลึกออกมา 1 โมเลกุล เป็นนํ้าอิสระจึงทําให้ปุ๋ยชื้น (adductus, L: ดึงเข้าหากัน)
adenosine 5′ triphosphate อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต : ชื่อย่อ ATP สารอินทรีย์ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์
องค์ประกอบ: หนึ่งโมเลกุลมีไนโตรเจน 5 อะตอมและฟอสฟอรัส 3 อะตอม องค์ประกอบหลักมี 2 ส่วน คือ (1) อะ
ดีนีน (เบส) ไรโบส (นํ้าตาล) รวมกันเรียกว่าอะดีโนซีน และ (2) ฟอสเฟต 3 หมู่ ผลจากการสลาย: เมื่อ ATP ผ่าน
+
กระบวนการไฮโดรไลซิสด้วยเอนไซม์ ATPase จะได้ ADP อนินทรีย์ฟอสเฟต (Pi) และโปรตอน (H ) เนื่องจาก
ATP มีพลังงานสูงกว่า ADP ดังนั้นการเปลี่ยนจาก ATP เป็น ADP จึงปล่อยพลังงานออกมา 7.3 กิโลแคลอรี/
โมล การใช้พลังงาน: พลังนี้ถูกใช้ในปฏิกิริยาภายในเซลล์ 3 อย่าง คือ (1) ให้พลังงานก่อกัมมันต์ (activation
energy) แก่ปฏิกิริยาดูดกลืนพลังงาน (endergonic reaction) (2) การเคลื่อนย้ายโมเลกุลหรือไอออนผ่านเยื่อ
และ (3) การเคลื่อนไหวของเซลล์หรือบางส่วนของเซลล์ บทบาทของแมกนีเซียม: แมกนีเซียมมีบทบาทสําคัญใน
2+
ปฏิกิริยาที่ใช้ ATP เนื่องจาก Mg เกาะกับ ATP ได้สารเชิงซ้อน ATP-Mg ซึ่งจับกับบริเวณแอกทีฟ (active site)
ของเอนไซม์ ATPase ได้พอดี
adequate zone (range) ช่วงเพียงพอ : พิสัยหรือช่วงความเข้มข้นของธาตุอาหารในเนื้อเยื่อดัชนี (index tissue)
ของพืช ที่เพียงพอสําหรับการเติบโตหรือผลผลิตสูงสุด หากเลยจุดปลายของช่วงนี้ไปเรียกว่าช่วงฟุ่มเฟือย (luxury
range) เนื่องจากสิ้นเปลืองธาตุอาหารโดยไม่เพิ่มผลผลิต เปรียบเทียบกับ deficient zone (range), transition
zone (range) และ toxic zone (range)
adhesion การยึดติด : การยึดระหว่างโมเลกุลต่างชนิด เช่น การยึดของโมเลกุลนํ้ากับผิวอนุภาคดิน
adhesives สารเชื่อม : กลุ่มของสารเหนียวที่ใส่ในแคริเออร์ (carrier) สําหรับผลิตปุ๋ยชีวภาพประเภทใช้คลุกเมล็ดพืช
เพื่อให้แบคทีเรียในปุ๋ยชีวภาพเกาะติดกับผิวเมล็ดพืช ขณะเดียวกันก็เป็นอาหารของแบคทีเรียด้วย ได้แก่ กาว
กัมอะราบิก คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส นํ้าตาลและนมผง
adsorption การดูดซับ : กระบวนการที่โมเลกุลของสารหรือไอออนมาจับเกาะที่ผิวของสารชนิดหนึ่ง ทําให้ความ
เข้มข้นของโมเลกุลหรือไอออนที่บริเวณพื้นที่ผิวของสารสูงขึ้น เช่น (1) ไอออนของธาตุอาหารถูกดูดซับที่ผิวของ
คอลลอยด์ดิน และ (2) ไอออนดูดซับที่ผนังเซลล์บริเวณช่องเสรีโดนแนน (Donnan free space)
adventitious root รากพิเศษ : รากซึ่งแตกออกมาจากอวัยวะอื่น เช่น ลําต้น
aerobic ใช้ออกซิเจน : คุณศัพท์ ใช้ขยายว่าสิ่งมีชีวิต, ดินหรือปฏิกิริยาเคมีใช้ออกซิเจน เช่น aerobic bacteria
(แบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจน), aerobic soil (ดินมีออกซิเจน), aerobic respiration (การหายใจแบบใช้
ออกซิเจน) (aer-, L: อากาศ)
aerobic composting การย่อยสลายแบบใช้ออกซิเจน: กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์
ในสภาพที่มีออกซิเจนเพียงพอ