Page 23 -
P. 23

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               23





                    ammonia แอมโมเนีย : สารประกอบซึ่งมีสูตร NH  (ไนโตรเจน 82.25% และไฮโดรเจน 17.75%) ในอุณหภูมิปรกติ
                                                           3
                      เป็นแก๊สไม่มีสี มีกลิ่นฉุน นํ้าหนักน้อยกว่าอากาศ แต่เดิมแก๊สแอมโมเนียได้จากกระบวนการเปลี่ยนถ่านหินให้เป็น

                      ถ่านโค้ก ในปัจจุบันผลิตแอมโมเนียโดยตรงด้วยไนโตรเจนจากอากาศและไฮโดรเจนจากแก๊สธรรมชาติหรือ

                      ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบางชนิด แอมโมเนียเป็นวัตถุดิบสําหรับผลิตกรดไนทริกและปุ๋ยแอมโมเนียมชนิดต่างๆ
                    ammonia feedstock วัตถุดิบผลิตแอมโมเนีย : วัตถุดิบที่ให้ไฮโดรเจนสําหรับผลิตแอมโมเนีย  ในปัจจุบันนี้

                      ประมาณร้อยละ 70 ของแอมโมเนียผลิตโดยใช้แก๊สธรรมชาติ อีกร้อยละ 30 ผลิตจากเนฟทาและถ่านลิกไนต์
                    ammonia liquor นํ้าแอมโมเนีย : ของเหลวที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างแอมโมเนียปราศจากนํ้า (anhydrous

                      ammonia) กับนํ้า ผลของปฏิกิริยา คือ แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH OH, aqua ammonia) สารละลายมีฤทธิ์
                                                                            4
                      เป็นด่าง
                    ammonia oxidation การออกซิไดส์แอมโมเนีย : ปฏิกิริยาระหว่างแอมโมเนียกับออกซิเจน เกิดขึ้นเมื่อนํา

                      แอมโมเนียมาผสมกับอากาศแล้วผ่านเข้าสู่ปฏิกรณ์ที่อุณหภูมิสูง ใช้แพลทินัม (Pt) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา แอมโมเนีย
                      ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ไนทริกออกไซด์ (NO) และต่อไปได้ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO ) เมื่อให้แก๊สนี้ทํา
                                                                                          2
                      ปฏิกิริยากับนํ้าก็ได้กรดไนทริก (HNO )
                                                  3
                    ammonia synthesis การสังเคราะห์แอมโมเนีย : กระบวนการผลิตแอมโมเนียจากปฏิกิริยาระหว่างไนโตรเจนกับ
                      ไฮโดรเจน  ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง  ขั้นตอนหลักในกระบวนผลิตแอมโมเนียมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การ

                      เตรียมวัตถุดิบ  (2) เปลี่ยนคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ (3) ขจัดแก๊สอื่นๆที่เจือปนในส่วนผสม

                      ระหว่างไนโตรเจนและไฮโดรเจน  และ (4) การสังเคราะห์แอมโมเนีย โดยกระบวนการ Harber-Bosch (ดู
                      Harber-Bosch Process ประกอบ)

                    ammonia volatilization การระเหยของแอมโมเนีย : กระบวนการสูญเสียแอมโมเนียออกไปจากดิน เกิดเมื่อใส่ปุ๋ย
                      แอมโมเนียมหรือยูเรียในดินด่าง

                    ammoniated superphosphate ซูเปอร์ฟอสเฟตเติมแอมโมเนีย : ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตที่ทําปฏิกิริยากับแอมโมเนีย

                      เพื่อให้กรดส่วนเกินที่ยังตกค้างในปุ๋ยเป็นกลาง
                    ammoniation การทําปฏิกิริยาด้วยแอมโมเนีย : กระบวนการใช้แอมโมเนียหรือเกลือแอมโมเนียมทําปฏิกิริยากับ

                      ซูเปอร์ฟอสเฟต เกิดปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตที่ทําให้เป็นกลางด้วยแอมโมเนีย
                    ammoniation-granulation of fertilizer การผลิตปุ๋ยเม็ดเติมแอมโมเนีย : กระบวนการผลิตปุ๋ยที่รวมเอา 2 เรื่อง

                      มาทําพร้อมกัน คือ เติมแอมโมเนียขณะปั้นเม็ดในอุปกรณ์ปั้นเม็ดแบบถังหมุน แอมโมเนียจะทําปฏิกิริยากับกรดใน

                      ซูเปอร์ฟอสเฟต  ขณะเดียวกันก็เติมนํ้าหรือไอนํ้าเข้าไปปรับสภาพให้เป็นของเหลวข้นจนหนืดเหมาะแก่การปั้นเม็ด
                    ammonification แอมโมนิฟิเคชัน : กระบวนการแปรสภาพสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น โปรตีน โดย

                      กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินจนได้แอมโมเนีย

                    ammonifiers แอมโมนิไฟเออร์ : จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดกระบวนการแอมโมนิฟิเคชัน
                    ammonium แอมโมเนียม: ไอออนซึ่งมีสูตร NH  เกิดขึ้นเมื่อแอมโมเนีย (NH ) รับโปรตอน (H ) หรือทําปฏิกิริยา
                                                                                              +
                                                          +
                                                                                3
                                                         4
                      กับนํ้าได้แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ แล้วแตกตัวได้แอมโมเนียมไอออนกับไฮดรอกซิลไอออน (OH) หรือเกลือ
                                                                                               -
                      แอมโมเนียมแตกตัวในนํ้า แอมโมเนียมเป็นรูปหนึ่งของไนโตรเจนที่เซลล์พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28