Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               20





                    agro-ecological zone เขตนิเวศเกษตร: ทรัพยากรที่ดิน (land resource) อันปรากฏขอบเขตในแผนที่ จําแนกได้
                      ในเชิงภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ ลักษณะดิน และพืชที่ปกคลุม สภาพตามธรรมชาติดังกล่าวแสดงถึงศักยภาพและ

                      ข้อจํากัดในการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร

                    agroforestry วนเกษตร: การใช้พื้นที่สําหรับระบบการปลูกและจัดการให้มีไม้ยืนต้นและไม้พุ่มเป็นหลัก แล้วเสริม
                      ด้วยพืชล้มลุกและ/หรือการเลี้ยงสัตว์อยู่ในแปลงเดียวกัน มีลักษณะเกื้อกูลกัน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์

                      พื้นที่ และช่วยให้มีรายได้จากผลิตผลหลายอย่าง เกษตรกรแต่ละรายสามารถเลือกระบบที่เหมาะกับสภาพพื้นที่และ
                      ความถนัดของตน เช่น พืชไร่และไม้ยืนต้น (agro-silviculture) ไม้ยืนต้นและทุ่งหญ้า (silvi-pastoral) พืชไร่และ

                      ไม้ผลยืนต้น (agro-horticulture) เป็นต้น

                    agronomic efficiency ประสิทธิภาพการผลิตพืช: ผลผลิตพืชส่วนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อหน่วยของ
                      ธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ ใช้หน่วย กก.ผลผลิตที่เพิ่มจากการใส่ปุ๋ย/กก. ธาตุอาหารที่ใส่ ดู apparent recovery

                      efficiency และ physiological efficiency ประกอบ
                    agronomy วิทยาการพืชไร่นา: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อการผลิตพืชไร่นา ประกอบด้วยสาขาวิชาการ

                      ต่างๆ เช่น พันธุศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์พืช สรีรวิทยา การควบคุมวัชพืช นิเวศวิทยา อุตุนิยมวิทยา การจัดการดิน

                      และนํ้า ฯลฯ  agronomy มาจาก (1) ภาษากรีก agrós แปลว่าทุ่ง (field) และ nómos แปลว่ากฎ (law) (2) ภาษา
                      ฝรั่งเศส agronomie แปลว่าการปลูกพืช

                    agrophysiological efficiency : ปริมาณผลผลิตส่วนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อหน่วยนํ้าหนักของธาตุ

                      อาหารที่พืชดูดขึ้นไปสะสมไว้ เปรียบเทียบกับ agronomic efficiency, physiological efficiency และ
                      apparent recovery efficiency

                    air pollutants สารมลพิษทางอากาศ: แก๊สหรืออนุภาคที่ถูกปลดปล่อยเข้าสู่บรรยากาศในปริมาณมากพอ ที่จะเป็น
                      อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

                    aleurone แอลิวโรน : เม็ดโปรตีนพวกโกลบูลินและเพ็บโทนซึ่งพบในเมล็ดแก่

                    aleurone grains เม็ดแอลิวโรน : อาหารสะสมประเภทโปรตีนซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ด และพบในเมล็ดพืช
                    aleurone layer ชั้นแอลิวโรน : ชั้นของเซลล์ที่อยู่ถัดจากเปลือกเมล็ดและหุ้มเมล็ดไว้ พบเม็ดแอลิวโรนในเซลล์

                    algal bloom สาหร่ายสะพรั่ง: ปรากฏการณ์ที่สาหร่ายเติบโตอย่างรวดเร็วจนปกคลุมผิวนํ้าหนาแน่น ส่งผลกระทบต่อ
                      สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่น เนื่องจากนํ้ามีสารอาหารมากเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสเฟตไอออนในนํ้า

                    alginates สารสกัดจากสาหร่ายทะเล : สารหลายชนิดที่สกัดจากสาหร่ายทะเลโดยกรรมวิธีต่างๆ นํามาใช้เพื่อช่วยให้

                      พืชเจริญเติบโตดีขึ้น
                                                                                                     +
                                                                                  2-
                                                               -
                    alkali แอลคาไล: ศัพท์ทั่วไปใช้เรียกหมู่ไฮดรอกซิล (OH) หรือคาร์บอเนต (CO ) ของแอมโมเนียม (NH ) และ
                                                                                 3
                                                                                                     4
                      ของโลหะแอลคาไลซึ่งอยู่ในหมู่ IA ของตารางธาตุ เช่น Li, Na, K
                    alkali soil ดินแอลคาไล: ดินซึ่งมีโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้สูงกว่า 15% และการนําไฟฟ้าตํ่ากว่า 4 เดซิซีเม็น/เมตร
                      ปัจจุบันเรียกว่าดินโซดิก (sodic soil)

                    alkaline earth แอลคาไลน์เอิร์ต : ออกไซด์ของโลหะแอลคาไลน์เออร์ต เช่น แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และ
                      แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25