Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
17
activation energy พลังงานก่อกัมมันต์ : พลังงานที่ต้องเพิ่มเข้าไป เพื่อทําให้ปฏิกิริยาเคมีเริ่มได้ ปฏิกิริยาดูดกลืน
พลังงาน (endergonic reaction) ต้องการพลังงานส่วนหนึ่งก่อนที่ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นได้ ปฏิกิริยาชีวเคมีบาง
ปฏิกิริยาใช้ adenosine 5′triphosphate หรือ ATP (มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ) เป็นแหล่ง
ของพลังงาน ดูเพิ่มเติมจาก energy coupling (“กัมมันต์ แปลว่า ทําการงาน”)
2-
activation of sulfate การปลุกฤทธิ์ซัลเฟต : ขั้นตอนแรกของการใช้ประโยชน์ซัลเฟตไอออน (SO ) ที่เซลล์รากดูด
4
ได้แล้วเคลื่อนย้ายทางไซเล็มไปยังใบ โดยซัลเฟตทําปฏิกิริยากับ ATP ในเซลล์ใบ เพื่อให้มีสภาพเป็นสารประกอบที่
เข้าสู่กระบวนการรีดักชันเป็นซัลไฟต์ได้
activator (1) สารเร่งหรือเชื้อเร่ง : สารหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่ใส่ในกองหมักวัสดุ เพื่อให้สารอินทรีย์ในกองมีการ
สลายตัวและได้ปุ๋ยหมักเร็ว สารเร่ง ได้แก่เศษอาหารสัตว์และปุ๋ยเคมี ส่วนเชื้อเร่งได้แก่จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ การใช้
สารเร่งหรือเชื้อเร่งทําให้ได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีในเวลาที่สั้นกว่าเดิม เรียกว่า accelerators
activator (2) สารปลุกฤทธิ์ : ไอออนของธาตุซึ่งทําหน้าที่เป็นปัจจัยร่วมหรือโคแฟกเตอร์ (cofactor) ของเอนไซม์บาง
ชนิด เช่น K , Ca , Mg ,Fe , Cu , Mn และ Zn
2+
2+
+
2+
2+
2+
2+
active biomass ชีวมวลมีชีวิต: จํานวนเซลล์ของจุลินทรีย์มีชีวิตในปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ต้องมีเซลล์
จุลินทรีย์มีชีวิตอย่างน้อย 10 เซลล์/กรัมวัสดุรองรับ (carrier) ปุ๋ยชีวภาพอะโซโตแบคแตอร์ ต้องมีเซลล์จุลินทรีย์มี
8
ชีวิตอย่างน้อย 10 เซลล์/กรัมวัสดุรองรับ
7
active site แอกทีฟไซต์ : ส่วนของเอนไซม์ (enzyme, E) ซึ่งมีโครงสร้างเฉพาะทําหน้าที่จับกับซับสเทรต
(substrate, S) ได้เอนไซม์-ซับสเทรตคอมเพล็ก (enzyme-substrate complex, ES) แล้วกระบวนการชีวเคมี
ดําเนินต่อไปจนจบ แอกทีฟไซต์เป็นบริเวณที่มีการจัดเรียงของกรดอะมิโนชนิดต่างๆอย่างพอเหมาะ มีโครงสร้าง
จําเพาะกับการจับซับสเทรตเฉพาะชนิดเท่านั้น (กรดอะมิโนที่แอกทีฟไซต์มีไนโตรเจนและกํามะถันเป็นองค์ประกอบ)
active transport การขนส่งแบบแอกทีฟ : การขนส่งไอออนหรือโมเลกุลผ่านเยื่อทวนลาดศักย์เคมีไฟฟ้า
(electrochemical gradient) หรือทวนลาดความเข้มขัน (concentration gradient) ด้วยโปรตีนพาหะที่มี
ความจําเพาะเจาะจง โดยเกิดคู่กับกระบวนให้พลังงาน เช่น การไฮโดรไลส์ ATP มี 2 กระบวนการ คือ (1) การ
ขนส่งแบบแอกทีฟปฐมภูมิ (primary active transport) ใช้พลังงานจาก ATP โดยตรงในการขับเคลื่อนการขนส่ง
โปรตอน (H ) ผ่านเยื่อ และ (2) การขนส่งแบบแอกทีฟทุติยภูมิ (secondary active transport) อาศัยความต่าง
+
ศักย์ทางเคมีไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการขนส่งแบบแอกทีฟปฐมภูมิ ขับเคลื่อนการขนส่งไอออนหรือโมเลกุลผ่านเยื่อ
acute รุนแรง: ระดับความเสียหายที่เกิดกับพืชถึงขั้นเป็นอันตราย เช่น ใบไหม้ (scorch) และเนื้อเยื่อตาย
(necrosis) เกิดจากมลพิษของอากาศที่สูงในเวลาอันสั้น มิใช่เป็นอาการผิดปรกติแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือเรื้อรัง
(chronic) เช่น อาการขาดธาตุอาหารของพืช
additive สารเติมแต่ง : สารที่ไม่มีธาตุอาหาร ใช้เติมลงไปในปุ๋ยเพื่อปรับปรุงสมบัติบางประการของปุ๋ยนั้น
เปรียบเทียบกับ conditioner