Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               14





                                                               A



                    abiotic อชีวนะ: ซึ่งไม่มีชีวิต เป็นคุณศัพท์ใช้ขยายคํานาม (a-, an-,L:ไม่มีหรือปราศจาก; bio-,L: ชีวิต)

                    abiotic factors ปัจจัยอชีวนะ: ปัจจัยที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดูดธาตุอาหาร เมแทบอลิซึมและการเติบโตของ

                      พืช ได้แก่ความชื้น อุณหภูมิ สภาพกรดหรือสภาพด่างของดิน
                    abiotic stress ความเครียดอชีวนะ : ความเครียดของพืชอันเกิดจากปัจจัยที่ไม่มีชีวิต เช่น การขาดนํ้า อุณหภูมิตํ่า

                      หรือสูงเกินไป ธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนรูปไนทริกออกไซด์ (NO) มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืช
                      ต่อความเครียดอชีวนะ (เปรียบเทียบกับ biotic และดูความหมายของ stress)

                    abrasion resistance  ความต้านทานการขัดถู : สมบัติที่แสดงความแข็งของเม็ดปุ๋ยประการหนึ่ง บอกค่าเป็นร้อย

                      ละของนํ้าหนักละอองปุ๋ยซึ่งเกิดจากการกร่อนเมื่อเม็ดปุ๋ยขัดถูกันในอุปกรณ์มาตรฐาน
                    abscisic acid กรดแอบส์ซิสิก: ฮอร์โมนพืชที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหลายด้าน เช่น การร่วงของใบและทําให้

                      เมล็ดพักตัว มีบทบาทในการปิดปากใบ โดยขับเคลื่อนให้โพแทสเซียมไอออนและนํ้าออกจากเซลล์คุม (guard
                      cells) จนแฟบ ทําหน้าที่ร่วมกับแคลเซียม

                    abscission การร่วง: การหลุดออกไปของอวัยวะพืช เช่นใบ ดอกและผล การขาดธาตุไนโตรเจนของพืชเป็นปัจจัย

                      หนึ่งที่ทําให้ใบจะร่วงเร็วกว่าปรกติ (ab, L: ออกไป ;  scindere, L: ตัดขาด)
                    abscission zone บริเวณการร่วง : เนื้อเยื่อของก้านใบ ก้านดอกหรือก้านผลส่วนที่ติดกับกิ่ง อันเป็นบริเวณที่จะขาด

                      ออกเมื่ออวัยวะร่วง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ชั้นการขาด (separation layer) อยู่ส่วนบน และ (2) ชั้นป้องกัน

                      (protective layer) อยู่ส่วนล่างและผนังเซลล์แข็งแรงเพราะมีสารซูเบอริน (suberized cell wall) ก่อนที่อวัยวะ
                      เช่น ใบจะร่วง ความเข้มข้นของออกซินในใบจะลดลง ปริมาณออกซินที่เคลื่อนย้ายเข้าสู่บริเวณการร่วงก็น้อยลงด้วย

                      เมื่อบริเวณการร่วงได้รับเอทิลีน เอนไซม์ซึ่งทําหน้าที่ย่อยผนังเซลล์ เช่น cellulase และ polygalacturonase ก็ถูก
                      กระตุ้นให้มีกิจกรรมสูงขึ้น จึงย่อยผนังเซลล์ของชั้นการขาดตลอดแนว เหลือแต่ไซเล็มซึ่งรับนํ้าหนักใบไม่ได้ ทําให้

                      ใบร่วง จากนั้นชั้นป้องกันก็ทําหน้าที่คลุมรอยขาด เพื่อลดการสูญเสียนํ้าและป้องกันศัตรูพืช พืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน
                      ใบล่างจะร่วงเร็วกว่าปรกติ

                    absorption การดูดซึม : กระบวนการที่สารหนึ่งซึมเข้าไปในเนื้อของอีกสารหนึ่ง คํานี้ใช้ในหลายเรื่อง เช่น (1) แก๊ส

                      ฟอสฟอรัสเพ็นทอกไซด์  (P O ) ถูกดูดซึมเข้าไปในนํ้า  แล้วทําปฏิกิริยากับนํ้าได้กรดออโทฟอสฟอริก (2) การดูด
                                           2 5
                      ซึมของสารประกอบฟลูออไรด์และแอมโมเนียในแก๊สที่เหลือจากกระบวนการผลิตปุ๋ย (off gasses) เข้าไปในสารซึ่ง

                      บรรจุในอุปกรณ์ที่เรียกว่า gas scrubbers (3) การดูดนํ้าของดินเข้าไปไว้ในช่องว่าง และ (4) เรียกการดูดไอออน

                      ของเซลล์พืชว่า ion absorption (เปรียบเทียบกับการดูดซับ หรือ adsorption)
                    absorption, light การดูดแสง : กระบวนการที่แสงผ่านผิววัสดุและอยู่ในวัสดุนั้น เปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่น หรือถูก

                      ใช้ในกระบวนการเชิงชีวภาพ เช่น แสงผ่านผิวใบพืชเข้าไปเกิดปฎิกิริยาเชิงแสงที่คลอโรฟิลล์

                    absorption spectrum สเปกตรัมการดูด: ความสามารถของสารสี (pigment) ในการดูดแสงที่มีช่วงความยาวคลื่น
                      (wavelength) ต่างๆ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19