Page 9 -
P. 9

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                9





                    2. รากศัพท์
                        ศัพท์วิทยาศาสตร์ส่วนมากมีรากศัพท์จากภาษาละติน (Latin, L) และกรีก (Greek, G) ซึ่งเป็นคํา (นามหรือ

                    คุณศัพท์) อุปสรรค (prefixes) หรือปัจจัย (suffixes) จึงบอกที่มาด้วยอักษรย่อ ชนิดของคําและความหมายดังนี้

                                        อุปสรรค จากภาษากรีก เช่น          chloros-, G: เขียวหรือ เขียวแกมเหลือง
                                        ปัจจัย จากภาษากรีก เช่น            -sis, G: บ่งบอกถึงการกระทํา

                                        คําจากภาษากรีก เช่น                  thigma, G :สัมผัส
                                        อุปสรรค จากภาษาละติน เช่น        co-, L: ด้วย หรือด้วยกัน

                                        ปัจจัย จากภาษาละติน เช่น          -anus, L: ว่าด้วยตําแหน่งพื้นที่

                                        คําจากภาษาละติน เช่น                alcalinus, L : ด่าง
                    3. หลักเกณฑ์การบัญญัติศัพท์

                        3.1 วิธีคิดคําขึ้นใหม่ ศัพท์ใดที่สามารถหาคําในภาษาไทยซึ่งมีความหมายตรงหรือใกล้เคียงกับคําต้นศัพท์ได้ ก็ใช้
                    คํานั้นเป็นศัพท์บัญญัติ หรือใช้คําไทยมาประกอบเป็นศัพท์บัญญัติขึ้น เช่น

                                       beneficial elements                   ธาตุเสริมประโยชน์

                        3.2 วิธีทับศัพท์ ศัพท์ที่ไม่สามารถใช้วิธีแรกได้ก็จะใช้วิธีทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ฉบับ
                    ราชบัณฑิตยสถาน

                                       nitrogenase                               ไนโตรจีเนส

                                       urease                                      ยูรีเอส
                    4. การนิยามศัพท์และการจัดรูปแบบการนิยาม

                        4.1 การเขียนบทนิยามของศัพท์ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายหลักของศัพท์อย่างชัดเจน จึงอธิบาย
                    เพิ่มเติมอย่างละเอียดพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

                        4.2 ศัพท์บางคํามีอยู่แล้วในพจนานุกรมอื่นๆ แต่ได้นิยามขึ้นใหม่เพื่อให้ความหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปุ๋ยและ
                    ธาตุอาหารพืช แม้ว่าใจความสําคัญจะมีความคล้ายคลึงกัน

                        4.3 ศัพท์ภาษาอังกฤษบางคํามีความหมายเหมือนกัน โดยมีศัพท์บัญญัติเดียวกันและเป็นศัพท์ที่ใช้แทนกันได้ จะ

                    ตั้งศัพท์เหล่านั้นรวมกันและใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างศัพท์แต่ละศัพท์ ส่วนคําอธิบายจะไว้ที่ศัพท์ในลําดับ
                    อักษรที่มาก่อน หรือศัพท์ที่นิยมใช้กันแพร่หลายแต่เพียงแห่งเดียว และจะตั้งศัพท์อื่น ๆ ไว้ตามลําดับของตัวอักษรนั้น

                    ๆ ด้วย แต่จะให้เฉพาะศัพท์บัญญัติเท่านั้น โดยมีข้อความต่อท้ายว่า  ดูคําอธิบายใน ………. ตัวอย่างเช่น

                                  multinutient fertilizer; polynutrient fertilizer ปุ๋ยหลายธาตุ
                                  polynutrient fertilizer  ปุ๋ยหลายธาตุ : ดูคําอธิบายใน multinutrient fertilizer

                          4.4 ศัพท์ภาษาอังกฤษบางคํามีความหมายเหมือนกันแต่มีคําบัญญัติต่างกัน จะเก็บคําอธิบายศัพท์ไว้ที่ลําดับ
                    อักษรของศัพท์ที่มาก่อน ส่วนศัพท์ในลําดับอักษรต่อไปจะให้เฉพาะศัพท์บัญญัติ และมีข้อความว่า มีความหมาย

                    เหมือน ………. เช่น

                                  pop-up fertilizer ปุ๋ยพอพอัพ
                                  starter fertilizer ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน : มีความหมายเหมือน pop-up fertilizer
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14