Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5
คํานําของผู้เรียบเรียง
การวิจัยด้านปุ๋ยและธาตุอาหารพืชอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทําให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถ
นํามาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาการเกษตรให้เป็นระบบที่ยั่งยืน และจะดํารงระบบนี้ตลอดไป สําหรับผู้ศึกษาตําราด้าน
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ธาตุอาหารพืชและปุ๋ยในปัจจุบัน เห็นได้ว่าตํารามีเนื้อหาเข้มข้น กระชับและมีศัพท์เทคนิค
มากมาย ผู้ที่จะได้รับความรู้มากที่สุดจากการอ่าน คือ ผู้ที่ทราบคํานิยามของศัพท์เทคนิคต่าง ๆ อย่างถูกต้อง การมี
"พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช" เป็นคู่มือจะช่วยให้ได้ความรู้จากการอ่านตําราตลอดจนเอกสารทางวิชาการ
ด้านนี้อย่างลึกซึ้งและเกิดประโยชน์เต็มที่
ความคิดเรื่องการเรียบเรียงคํานิยามของ “ศัพท์ปุ๋ย” เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2538 เมื่อได้อ่าน “Fertilizer
Dictionary” ของ J.J. Mortvedt และ C. Sine นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์พัฒนาปุ๋ยระหว่างประเทศที่ได้ตีพิมพ์ใน
“Farm Chemical Handbook” ต่อมาได้ศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานของนักวิชาการในสมาคมปฐพีศาสตร์แห่งอเมริกา
(Soil Science Society of America) สมาคมอุตสาหกรรมปุ๋ยระหว่างประเทศ (International Fertilizer
Industry Association, IFA) และศูนย์พัฒนาปุ๋ยระหว่างประเทศ (International Fertilizer Development
Center, IFDC) ที่ได้ปรับปรุงคําอธิบาย “ศัพท์ปุ๋ย” ให้ทันสมัยและเผยแพร่ในวารสารต่างๆ อันเป็นแหล่งของข้อมูลที่
ใช้เรียบเรียงหนังสือ “ศัพท์ในวงการปุ๋ย” ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2542 และพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้
ด้านธาตุอาหารนั้น E. Epstein ตีพิมพ์หนังสือซึ่งประมวล “หลักการธาตุอาหารยุคใหม่” Mineral
Nutrition of Plants: Principle and Perspective เมื่อ พ.ศ. 2515 จากนั้นก็มีหนังสือธาตุอาหารพืชของนักวิชาการ
ที่มีชื่อเสียงอีกจํานวนมาก ซึ่งคํา “อธิบายศัพท์ธาตุอาหารพืช” มีอยู่ในหนังสือเหล่านั้นทุกเล่ม แต่ไม่มีเล่มใดจัดทํา
อภิธานศัพท์ (glossary) เลย แม้จะมีสถาบันธาตุอาหารพืชระหว่างประเทศ (International Plant Nutrition
Institute, IPNI) และมีเอกสารวิชาการจากสถาบันนี้จํานวนมาก แต่ยังไม่มีพจนานุกรมศัพท์ธาตุอาหารพืช จึงเห็นว่า
ควรจัดทําขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาในสาขานี้
สาเหตุที่นํา “ศัพท์ปุ๋ยและศัพท์ธาตุอาหารพืช” มารวมไว้ในเล่มเดียวกัน เนื่องจากปุ๋ยและธาตุอาหารพืชมี
ความเกี่ยวข้องกัน แม้เรื่องปุ๋ยจะเน้นองค์ประกอบทางเคมี การจําแนก การผลิตและการใช้ แต่ในปุ๋ยมีธาตุอาหารต่างๆ
จึงควรทราบเรื่องการดูดใช้ธาตุอาหารของรากและใบ บทบาทในพืช ตลอดจนการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่สําหรับ
แต่ละพืช ซึ่งประเด็นเหล่านี้เชื่อมโยงกับสาขาสรีรวิทยาของพืชที่ว่าด้วยกลไกการดูดและการใช้ประโยชน์ธาตุอาหาร
ของเซลล์ บทบาทของธาตุในโครงสร้างเซลล์ การทําหน้าที่กระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้พืชมีการ
เจริญเติบโตตามศักยภาพของสายพันธุ์
แม้ว่า “ธาตุอาหารพืช” จะเป็นส่วนหนึ่งของสรีระวิทยาของพืชเท่านั้น แต่เนื้อหาทางวิชาการมีความเชื่อมโยง
กับเซลล์วิทยา กายวิภาคศาสตร์ของพืช สัณฐานวิทยาของพืช ชีวเคมีของพืช ฮอร์โมนพืช และสิ่งแวดล้อม จึงได้
ประมวลศัพท์ในสาขานั้นๆที่เกี่ยวข้องกับธาตุอาหารพืชไว้ด้วย เนื่องจากกระบวนการทางสรีระของพืชทุกกระบวนการ
มีธาตุอาหารเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมเสมอ
“พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช” จะเป็นประโยชน์กับคนรุ่นใหม่ที่ศึกษาหรือทํางานเกี่ยวข้องกับปุ๋ย
และธาตุอาหารพืช 3 กลุ่ม คือ (1) ผู้ผลิต ผู้จําหน่ายและผู้ใช้ปุ๋ย (2) นักวิชาการด้านปุ๋ย นักวิชาการธาตุอาหารพืช