Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16
acid precipitation นํ้าฟ้ ากรด: นํ้าฝน หิมะหรือนํ้าค้างที่มีค่าพีเอชตํ่ากว่า 5.2
acidification การทําให้มีฤทธิ์กรด: การลดลงของ pH ดิน เนื่องจากการเพิ่มไฮโดรเจนไอออน และ/หรือ การลดลง
ของแคตไอออนเบส (ส่วนมาก คือ แคลเซียมและแมกนีเซียมไอออน) ในดินเนื่องจากการชะละลายหรือรากพืชดูด
ไปใช้
acidity สภาพกรด: สภาพทางเคมีของสารละลายซึ่งความเข้มข้นของ H สูงกว่า OH (เมื่อ-ty อยู่
+
-
ท้ายคํา ให้ขึ้นต้นคํานั้นว่า “สภาพ-“ เช่น absorptivity-สภาพดูดกลืน, conductivity-สภาพนํา
หรือต่อท้ายคําด้วย”-ภาพ” เช่น affinity-สัมพรรคภาพ, activity-กัมมันตภาพ)
acidity, soil สภาพกรดของดิน: ปริมาณกรดที่มีอยู่ในดิน หรือเรื่องราวของดินกรด (pH<7) ในด้านความรุนแรง
ของสภาพกรด ซึ่งแสดงได้ด้วยค่า pH ดูสภาพด่างของดิน (alkalinity, soil) และ pH ประกอบ
acidity and basicity of fertilizers สภาพกรดและสภาพด่างตกค้างของปุ๋ย : ผลด้านการเพิ่มสภาพกรดหรือ
สภาพด่างในดินอันเนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีแต่ละชนิด มี 2 อย่าง คือ (1) ผลตกค้างอันเป็นกรดของปุ๋ยก่อกรด
(acid forming fertilizers) ในดิน: คือ ปริมาณของแคลเซียมคาร์บอเนตที่ต้องใช้เพื่อทําให้กรดในดินอันเกิดจาก
ปุ๋ยกลายเป็นกลาง ซึ่งเรียกว่า “สภาพกรดสมมูล (equivalent acidity)” และ (2) ผลตกค้างอันเป็นด่างของปุ๋ยก่อ
ด่าง (basic forming fertilizers) ในดิน: คือ ปริมาณของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เท่ากัน (ในเชิงสมมูล) กับด่างที่
เกิดขึ้นจากปุ๋ย ซึ่งเรียกว่า “สภาพด่างสมมูล (equivalent basicity)” ดูความหมายของ equivalent acidity และ
equivalent basicity ประกอบ
acid forming fertilizers ปุ๋ยก่อกรด : ปุ๋ยที่มีการเปลี่ยนแปลงในดินแล้วมีผลให้ pH ของดินลดลง ได้แก่ ปุ๋ย
แอมโมเนียม และยูเรีย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน nitrification
acidophile พวกชอบกรด: สิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ดีในสภาพที่เป็นกรด
acidulation การทําปฏิกิริยาด้วยกรด : กระบวนการผลิตปุ๋ยที่ใช้กรดทําปฏิกิริยากับวัตถุดิบ ซึ่งส่วนมากได้แก่ การ
ใช้กรดซัลฟิวริก กรดไนทริก กรดฟอสฟอริก หรือกรดผสมทําปฏิกิริยากับหินฟอสเฟต
acrotetal สู่ปลาย: การเคลื่อนย้ายของสารหรือฮอร์โมนจากส่วนล่างไปหาส่วนยอดของพืช
actin แอกทิน : โกลบูลาโปรตีน (globular protein) ซึ่งอยู่ในโครงสร้างของเซลล์ มีบทบาททําให้เซลล์เปลี่ยนรูปร่าง
ได้ โปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (globular, L: กลม)
actinomycetes แอกทิโนไมซีต : แบคทีเรียซึ่งสร้างโคโลนีเป็นแฉกรูปดาว (actino-,L: รัศมีหรือแฉก)
action spectrum สเปกตรัมกิริยา: ความสามารถของแสงแต่ละช่วงความยาวคลื่นที่ก่อให้เกิดผลในการสังเคราะห์
แสง วัดโดยการฉายแสงทีละช่วงความยาวคลื่นไปยังคลอโรพลาสต์ แล้ววัดปริมาณออกซิเจนที่เกิดขึ้น นําผลที่ได้
ทั้งหมดมาแสดงเป็นไพรไฟล์
activated sewage sludge ตะกอนนํ้าเสียจากการเร่งสลาย : ตะกอนนํ้าเสียซึ่งได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง จึงมี
ประชากรและกิจกรรมของแบคทีเรียและจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆที่ใช้ออกซิเจนสูง ใช้ตะกอนนํ้าเสียประเภทนี้เป็นปุ๋ย
อินทรีย์ได้ หากปริมาณโลหะพิษที่เจือปนอยู่ตํ่ากว่าเกณฑ์ของปุ๋ยอินทรีย์